เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

วิถีจีวิตคนเมือง

เซาะปล๋าเซาะปู๋ แตงฮูเหยี่ยนย้อน แบกแซะแอ่วส้อน ต๋ามวัง
ได้ปล๋าแล้วเล้า เก็บเอามาขัง ต๋าวันลงยัง ไล่ควายปิ๊กบ้าน
อาบน้ำแต่งตั๋ว บ่หนัวขี้หย้าน จิตใจ๋เจยบาน ม่วนล้ำ

กิ๋นข้าวแล้วบ๋อ ลุกต่อกิ๋นน้ำ ก๋ำใส่อมเหมี้ยง มูลี
มานั่งเติกเม๊อะ เป๊อะอิง
สะหลี ก๋ำค่าวเครือมี มาอ่านม่วนเหล้น
ค่าวก่ำก๋าดำ กะตำปล๋าเต้น บัวระวงค์เย็น คิ่นกู๊

ลูกหลานมาฟัง พ่องนั่งมูบมู๊ หลับฟังคนอู้ ยังมี
ฝนมาก๋าฮ้อง น้ำนองหัวปี๋ ปอแจ้งขวายดี เก็บปู๋ใส่ข้อง
เกียมแอกเกียมไถ ไล่ควายสู่ห้อง เปื้อไถดินดอง บ่มไว้

เอามื้อเอาวัน เตื่อมกั๋นจ้วยไจ๊ ต๋อนปลูกจะได้ เบาแฮง
เลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำ ต๋ำพริกบีบแก๋ง ต๋าวันลงแลง ก่อมีน้ำเหล้า
ขนข้าวแล้วกา แม่นาต๋นเจ้า เก็บขวัญข้าวเอา ถี่จั๊น

ต๋อนสุดต๊ายกา ป้อนาตี้นั้น สูมาควายหั้น เลยลา
ไขขียา นำมาเต้าอี้ วิถีจีวีคนเมือง ก่อนแหล่นายเฮย.


รสสุคนธ์ รักษ์กวี
๔๓ /๑ หมู่๗ ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
๕๐๑๒๐
( โทรศัพท์ ๐๘๖-๙๑๔๘๕๓๗ )
๑๕ เมษายน ๒๕๕๑

ที่มา : http://muslimlanna.unbbz.com/




ประวัติ รสสุคนธ์ รักษ์กวี หรือ อาจารย์ถนอม ปาจา

เกิดวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓
ที่อยู่ ๔๓/๑ หมู่ที่ ๗ บ้านสันห่าว  ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง  จังหวัดเชียงใหม่ 
เป็นบุตรของ  นายแก้ว  กับ  นางนวล  เป็นบุตรคนที่  ๔  จากพี่น้อง  ๔ คน 
ภรรยาชื่อ  นางบุญยืน  มีบุตร  ๑ คน  ชื่อ  นางรสสุคนธ์  
การศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนต้น  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสันป่าตอง 

เริ่มการศึกษาผลงานโดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ตั้งแต่สมัยเรียนพระปริยัติธรรม  ด้วยอุปนิสัยรักการอ่านและเขียนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก  ฝึกฝนเขียนกลอนส่งไปทางหนังสือพิมพ์ และวิทยุในท้องถิ่นเชียงใหม่เป็นจุดเริ่มแรก  พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้เข้าเป็นสมาชิกชมรมนักกลอนเชียงใหม่ - ลำพูน  ปี พ.ศ. ๒๕๒๕  ก็ได้เริ่มเขียนค่าว  โดยส่งผลงานไปทางวิทยุรายการของแม่ครูเรไร  ชัยวงศ์  และพ่อครูอำนวย  กลำพัด  ได้จัดทำหนังสือ ตำนานพื้นบ้าน,  เจี้ยตลก,  กวีนิพนธ์ค่าว, ประวัติหมู่บ้านสันห่าว,  หนังสือกำค่าว กำคม เล่ม ๑ – ๓กวีนิพนธ์ร่วมกับเพื่อนๆ เรื่องพระเจ้าสิบชาติ,  ได้ร่วมออกรายการโทรทัศน์กับชมรมนักกลอนเชียงใหม่ - ลำพูน  ที่ทีวี ช่อง ๘ ลำปาง,
จัดรายการวิทยุชุมชนสันป่าตอง วิทยุชุมชนสหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง  วิทยุชุมชนวัดศรีปันเงินทั้งยังเข้าร่วมประกวดกลอน - ค่าว  ตามสถานที่ราชการและเอกชน ได้รับรางวัลเกียรติบัตรที่สำคัญกว่า  ๒๐ รางวัล เช่น  รางวัลชนะเลิศ ค่าวเฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์  ๖๐ พรรษา  ของ มูลนิธิดอยสุเทพ ,  รางวัลชนะเลิศค่าวหมอเจ้าฟ้า ในงานวันมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,  รองชนะเลิศค่าวเศรษฐกิจพอเพียง ห้องสมุดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จ.ลำพูน,  รางวัลรองชนะเลิศบทประพันธ์ค่าวของชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาภาคเหนือ  เป็นต้น  นอกจากนี้ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม
               ปี พ.ศ. ๒๕๔๖  ได้ร่วมก่อตั้ง  “ ชมรมอนุรักษ์ ภาษาวัฒนธรรมล้านนาสายใต้ ”  เปิดทำการสอนเด็กนักเรียนที่สนใจในการแต่งกลอน  แต่งค่าวและดนตรีพื้นเมือง  รับสอนฟรีในวันเสาร์และวันอาทิตย์  โดยเป็นพ่อครูอาสา  ความภาคภูมิใจ  คือในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๒  มีครูและเด็กนักเรียนของชมรมฯ  ได้รับรางวัลเกียรติยศ จำนวนกว่า  ๑๐๐  ใบ  นับเป็นความสำเร็จที่ให้คุณค่าทางจิตใจ  ด้วยอุดมการณ์ความเสียสละความหวงแหนในวรรณกรรม  ตามต้องการสืบสานไว้ให้ลูกหลานเมืองเหนือถิ่นล้านนาท่ามกลางสังคมสื่อในยุคปัจจุบัน

****************************************

ชมรมอนุรักษ์ภาษาวัฒนธรรมล้านนาเชียงใหม่ สายใต้ มีนายรสสุคนธ์ รักษ์กวี เป็นประธานชมรม มีสมาชิกจำนวน คน เช่น นายปรีชา มะโนคะนึง ,นายสนั่น อิทธิชัยมงคล ,นายสรจิต มูลยศ , นายไพรแก้ว อนุมัติ และคนอื่น ๆ อีกหลายคน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง คือ ต้องการอนุรักษ์ค่าวฮ่ำ คำกลอนพื้นบ้านให้คงอยู่คู่สังคมล้านนาตลอดไป โดยเปิดสอนให้กับบุคคล เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่บ้านของ นายรสสุคนธ์ บ้านสันห่าว