เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

กำบะเก่า


















หอศิลปมรดกกวีล้านนา

สะล้อ ซอ ซึง




ล่องแม่ปิง
รอบเวียง
กุหลาบเชียงใหม่
น้อยไชยา
เสเลเมา
พระลอเลื่อน
ปุมเหม้น
พม่า
ฤาษีหลงถ้ำ
ปราสาทไหว
ซอเงี้ยว
ปั่นฝ้าย
ซอน่าน
อื่อ
ลับแล

หอศิลปมรดกกวีล้านนา

อยากให้โลกโชคดีมีความรัก



อยากให้โลกโชคดีมีความรัก


ยิ้มทายทักทั่วทิศอย่างคิดฝัน

เพียงมนุษย์หยุดเข่นฆ่ารบรากัน

คงเป็นวันที่โลกเราโชคดี ฯ





“กำธร จินดาหลวง”

(2489-2552)
Kamthǭn Čhindālūang

(1946-2009)



ปลูกพืชเช่นใด.. ได้ผลเช่นนั้น

ปลูกพืชเช่นใด.. ได้ผลเช่นนั้น
on Saturday, July 16, 2005

.ตะวันออกทางทิศตะวันออก
ไม่ กลับกลอกออกทิศตะวันตก
หงส์เป็นหงส์กาเป็นกา หาใช่นก
จึงหยิบยกอ้างเอ่ยเฉลยคำ

ปลูกพืชเช่นใดได้ผลเช่น นั้น
จะมิผันเปลี่ยนไปให้น่าขำ
คนใจดีมีหรือจะใจดำ
คนมีธรรมหรือจะสร้างทางชั่วเดิน

คนทำดีย่อมได้ดีให้ผล
ที่ปวงชนทั่วหน้าพาสรรเสริญ
คนทำชั่วทั่วไปใครเขาเมิน
แม้บังเอิญพบปะจะหลีกตัว

เว้นลิงไว้พอวาปู่ว่าไว้
เว้นหมาให้ พอศอกบอกกันทั่ว
สัตว์หน้าขนคนพาลไซร้แม้ไม่กลัว
อย่าเกลือกกลั้วให้ราคี เปื้อนชีวา

คนมักชั่ว ควรห่างไกลให้แสน โยชน์
คนมักโกรธควรห่างไกลให้มากกว่า
คนพาโลโมโหโลภโกรธา
เขาอาจฆ่าใครใครได้ทุกคน

ผู้ปลูกธรรมประพฤติ ธรรมนำสุขทั่ว
ผู้ปลูกชั่วประสบทุกข์ทุกแห่งหน
ผู้ปลูกพืชประเภทใดมั่นใจตน
ย่อมได้ผลเช่นนั้น..นั่นความจริ

กำธร จินดาหลวง

แผนที่หอศิลปะมรดกกวีล้านนา



ดู หอศิลปะมรดกกวีล้านนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ที่ใดมีรัก-ที่นั่นมีทุกข์

ที่ใดมีรัก-ที่นั่นมีทุกข์

ความผูกพันทางใจเราไกลห่าง

เมื่อเราต่างมุมมองของเหตุผล

เหมือนม่านฟ้ามากั้นในบันดล

จึงต่างคนต่างอยู่...สู้ชีวา

มองใบไม้เงียบเหงากับเราสอง

สายลมล่องพัดผ่านหวั่นผวา

สายน้ำไหลเริ่มนับกับเวลา

จะกี่ฟ้า...กี่ฝน...ก็ทนไป

มุมมองเราแตกต่างกันอย่างนี้

คงไม่มีในกมลเริ่มต้นใหม่

ปล่อยมันหลุดลอยลับกับเยื่อใย

กับฟ้าไกล..(แต่)..น้ำตานอง

ไปเถิดไปตามทางอย่างที่ชอบ

ทางเลือกคือคำตอบกรอบเราสอง

ไถ่ถามหาทำไมไร้ค่าปอง

ไม่จำจองตารางทางใจเลย


สายน้ำร่ำกระซิบวันชีพหมอง

รักลอยล่องแรมร้างอย่างชาเฉย

กาลเวลายาใจให้คุ้นเคย

โอ้..รักเอ๋ยรักนั้น..นั่นคือทุกข์

จินดาพรหม จินดาหลวง

๓๑ มกราคม ๒๕๕๒

อาลัยคุณจินดาพรหม จินดาหลวง










อาลัยคุณจินดาพรหม จินดาหลวง

กวีจังหวัดเชียงใหม่ (สมาชิกสมาคมกวีร่วมสมัย)



จินดาพรหม จินดาหลวง ล่วงลับแล้ว

กวีแก้วศรีเวียงเมืองเชียงใหม่

จากวงศาคณาญาตินิราศไกล

จาเพื่อนในวงการฯ นิรันดร

จากชมรมอนุรักษ์ศิลป์ภาษาฯ

จากขวัญตาเคยพร่ำอู้คำอ้อน

ทิ้งคนที่รักไป...ให้ร้าวรอน

เหลือคำกลอนไว้เหมือนสิ่งเตือนต

หนี กวีร่วมสมัย ไปสวรรค์

รอพบกันหนใหม่ในชาติหน้า

“ที่ใดมีรัก...” รินร่ำคล้ายอำลา

“โอ้รักเอย...” รักพาทุกข์ฤทัย

จินดาพรหม จินดาหลวง ล่วงลับแล้ว

กวีแก้วศรีเวียงเมืองเชียงใหม่

หลับสนิทเถิดหนาอย่าห่วงใด

สถิตในสถานพิมานเทอญ.

สุวัฒน์ ไวจรรยา

บรรณาธิการฯ ร้อยวลีกวีร่วมสมัย.

กำลังใจ แด่ จินดาพรหม จินดาหลวง





กำลังใจ แด่
จินดาพรหม จินดาหลวง

การเกิดแก่เจ็บตายในมนุษย์
เป็นเรื่องสุดวิสัยไปหักห้าม
เกิดแล้วแก่เจ็บตายได้ทุกยาม
ไม่มีความเที่ยงแท้และแน่นอน
แม้จะเป็นพระสงฆ์องค์เคร่งครัด
ปฏิบัติศีลวินัยไม่หยุดหย่อน
แม้จะเป็นเจ้าฟ้ามหานคร
ราษฎรเศรษฐีมั่งมีจน
ทุกคนรู้เพียงแต่แค่วันเกิด
ได้กำเนิดลืมตามาหนึ่งหน
ไม่มีใครรู้ได้วันตายตน
บอกทุกคนนั้นให้ได้เตรียมตัว
พระพุทธองค์สอนให้ไม่ประมาท
ให้โอกาสเตรียมใจไว้ถ้วนทั่ว
เตือนตนทุกเพศวัยไม่เมามัว
ละความชั่วพร้อมทำแต่ความดี
เอาแสงธรรมเป็นแสงทองส่องชีวิต
เห็นทั่วทิศทุกข์สุขทุกวิถี
ไม่มืดมิดไม่มัวหมองครองชีวี
จะได้มีกายใจไร้มลทิน
เอาเกิดแก่เจ็บตายไว้ดับทุกข์
โรคร้ายรุกก็ไม่ไปถวิล
เกิดคู่กายตายคู่คนบนผืนดิน
ทุกชีวิน...ไม่คงคู่...อยู่ค้ำฟ้า

สีหมื่น เมืองยอง
สมาคมสืบสานตำนานปี่ซอเชียงใหม่
48/2 ถนนทิพย์เนตร ต.หายยา
อ.เมืองเชียงใหม่

นิราศรักจากเชียงใหม่ถึงพะเยา





นิราศรักจากเชียงใหม่ถึงพะเยา


จากเชียงใหม่ ไปพะเยา ยามเช้าตรู่
สิบเอ็ดผู้ รักด้าน งานอักษร
"ณ อาเขต" จุดนัดพบ ครบมิตรกลอน
เส้นทางจร "ผ่านดอยสะเก็ด" เขตพงพี
(เจริญศักดิ์ ลักษณากรณ์)
"ดอยนางแก้ว" ถิ่นนี้ เคยมีรัก
มี "ศาลหลัก-เครื่องเพศชาย"ไว้ที่นี่
เป็นตำนาน ขานเล่าถ้อย นับร้อยปี
ดอยแก้วนี้ คนอกหัก มาพักใจ
(รสสุคนธ์ รักษ์กวี)
คงเหมือนเรา คราวที่ ไม่มีรัก
พออกหัก เจ็บจำ ช้ำหมองไหม้
มาพะเยา ทั้งที ไม่มีใคร
พอจะให้ คนอกหัก มาพักพิง
(ปรีชา มโนคะนึง)
ซาบซึ้งบุญ อุ่นไอ ใจเปี่ยมสุข
เมื่อมาขลุก "วัดศรีโคมคำ" ทำบุญยิ่ง
เผื่อกุศล เผื่อ "ชัยภัทร" ศรัทธาจริง
เพื่อนมิทิ้ง ฝากลำนำ คำกวี
(วิไล ช่ำชอง)
ถึงพะเยา เราทำไม หัวใจเหงา
หรือตัวเรา มาไกลบ้าน สถานที่
"กว๊านพะเยา" เหมือนมีมนต์ ดลฤดี
บุญเรามี ที่ได้มา พร้อมหน้ากัน
(วรารัตน์ ปันแปง)
คิดคราวจาก ยากกว่า คิดมาพบ
ไม่อยากจบ เวลาที่ มีสุขสันต์
ไหว้ "งำเมืองขุนเจื่องเจ้า"เฝ้าสัมพันธ์
รักเรานั้น ขอทั้งชาติ อย่าคลาดคลา
(ชัยวิเศษ ดีสุวรรณ์)
คนเชียงใหม่ จิตใจงาม ถึงยามนี้
ร่วมสร้างสรรค์ วรรณกวี อันมีค่า
เยี่ยมพะเยา สุดปรีเปรม เต็มศรัทธา
คนริมกว๊าน ขอเมตตา อย่าใจดำ
(สรจิตร มูลยศ)
ถึง "บ้านสาง"ข้างกว๊านใหญ่ ใจคิดถึง
มิตรกลอนซึ่ง"ลาลับโลก"โศกเกินพร่ำ
ไหว้"พระเจ้า"ตนหลวงวัดศรีโคมคำ"
บุญช่วยนำ"คุณสุทัศน์ คร่องค้า"สู่ฟ้าเทอญ

(จินดาพรหม จินดาหลวง)
จาก คณะนักกลอน
"ชมรมนักกลอนเชียงใหม่-ลำพูน"

อาลัย “ จินดาพรหม”






อาลัย “ จินดาพรหม”

“อ.จินดาพรหม จินดาหลวง” ลับล่วงแล้ว
เพลงโศกแว่ว แผ่วมา น้ำตาไหล
“กฎแห่งกรรม” นำพราก จึงจากไกล
สุดอาลัย ใฝ่หา น้ำตาริน
เป็นนักค่าว นักกลอน กระฉ่อนชื่อ
นามระบือ ลือนะ ชนถวิล
ค่าว“อีปู่สอนหลาน” ไซร้ คงได้ยิน
ฟื้นกวิน ล้านนา ชั่วตาปี
สร้าง “หอศิลป์” รินร่ำ ถ้อยคำขาน
เพื่อสืบสาน วรรณศิลป์ มิสิ้นศรี
เป็นประธาน ชมรม เกลียวกลมดี
ฟื้นกวี ล้านนา เอื้ออาทร
ปูชนีย บุคคล เลิศล้นค่า
ภูมิปัญญา ค่าวฮ่ำ เพียรพร่ำสอน
เป็นครูบา อาจารย์ ชำนาญกลอน
ทุกขั้นตอน วอนพร่ำ เหนือคำกรอง
“หกสิบสามปี” ที่อยู่ ต่อสู้โลก
เผชิญโชค เผชิญสุข เคล้าทุกข์หมอง
ทุกอณู รู้สร้างสรรค์ ตามครรลอง
ที่สุดของ ชีวิต อนิจจัง
“อ.จินดาพรหม จินดาหลวง” สู่ห้วงหาว
สุกสกาว พราวพิศ เหมือนคิดหวัง
ชื่อผลงาน คู่ธานี อยู่จีรัง
สถิตยัง สรวงสวรรค์ นิรันดร์เทอญ

นายเจริญศักดิ์ ลักษณากรณ์
ประพันธ์ในนามชมรมนักกลอน
เชียงใหม่-ลำพูน
ชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาไทย
กลุ่มวรรณกรรม “ดาวเหนือ” นครเชียงใหม่

เต๋มเป๋นเศรษฐี มั่งมีม้าช้าง







เต๋มเป๋นเศรษฐี มั่งมีม้าช้าง
บ่ได้อยู่สร้าง ยืนทน
มาม้วยมอดมิด ดับจิตจากต๋น
หนีจากเมืองคน ไปสู่โลกหน้า
สัปป๊ะสิ่งของ เงินทองเสื้อผ้า
บ่ติดก๋ายา แหละน้อง
เต๋มมีวงศา อาวอาเพื่อนพ้อง
เมื่อถึงวันต้อง ลาไป
ส่งถึงป่าช้า เขาก็ว่าไกล๋
ครอบครัวอันใด แบ่งปันมอบเจ้า
ของผีของคน ปั๋นไว้เขตเฝ้า
ละตั๋วเดียวดาย เปล่าร้าง
ผู้มีผญ๋า ปัญญาสว้าง
ขอคิดฮอดกว้าง ไปนาน
คนเฮามนุษย์ ในโลกสงสาร
บุญกิ๋นบุญตาน ชักนำเดี๋ยวหว้าย
คนที่ทำก๋รรม ก็จักได้ส้าย
จักหนีตางใด บ่ป้น
เต๋มมีข้าวของ เงินทองล้ำล้น
บ่อาจสืบส้น จีรัง
อะนาคะตะ เขตตี้จักหวัง
คือมะระณัง เหมือนกั๋นเนอเจ้า
เหมือนกั๋นเนอเจ้า แหล่นายเหย

“จินดาพรหม จินดาหลวง”
“หอศิลปมรดกกวีล้านนา”
“ชมรมนักกลอนเชียงใหม่-ลำพูน”
9/9 หมู่ 6 บ.แม่นาป้าก ต.แม่หอพระ
อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150

มรดกภูมิปัญญา





มรดกภูมิปัญญา

อ่าน “อี่ปู่สอนหลาน” มานานนัก
แจ้งประจักษ์ หลักธรรม ถ้อยคำสอน
ภูมิปัญญา เลิศล้ำ เหนือคำพร
ทุกข์ขั้นตอน วอนเตือน สู่เรือนใจ
“อ.จินดาพรหม จินดาหลวง” เป็นห่วงหลาน
จึงสืบสาน ผ่านค่าว มากล่าวไข
เพื่อสำนึก ศึกษา ก้าวหน้าไกล
ทุกเพศวัย ได้อ่าน สำราญฯจินต์
“คติธรรม”คำคมแทรก ใช่แปลกใหม่
เน้นเนื้อใน ให้สาระ วอนถวิล
“คำบ่ะเก่า”เล่าไว้ คงได้ยิน
“ภาษาถิ่น” ล้านนา คู่ธานี
มรดก ภูมิปัญญา นำมาเสริม
“ค่าวก้อม”เติม เพิ่มคุณค่า สง่าศรี
ร้อยรังสรรค์ กลั่นกรอง เป็นของดี
ทุกภาคมี คุณภาพ ต่างทราบกัน
ร่ายคำกลอน สอนใจ ฝากให้คิด
เพื่อสะกิด ยามผิดพลาด มิคาดฝัน
เพื่อไว้แก้ ปัญหา สารพัน
สืบสร้างสรรค์ มั่นคง ดำรงนาม
ค่าควรเมือง เลื่องลือ ระบือลั่น
งานประพันธ์ อมตะ คู่สยาม
เอกลักษณ์ ค่าวจักอยู่ ทุกครู่ยาม
นี่คือความ ภาคภูมิใจ สิ่งใดปาน

เจริญศักดิ์ ลักษณากรณ์
ปชส.ชมรมนักกลอนเชียงใหม่-ลำพูน
204/3 ซอย 1 หมู่ 3
บ้านดอนจืน ต.หนองผึ้ง
อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140

อี่ปู่สอนหลาน (ภาคที่ 28)



สูบบุหรี่ มันมีสารปิ๊ษ
หลานอย่าได้คิด สูบควันสวรรค์
ไผสูบติดแล้ว โต้ษมีมหันต์
แต๊กล๋ายเป๋นควัน นรกหมกไหม้

เพราะเร่งหื้อเป๋น มะเร็งป่วยไข้
สารปิ๊ษเผาใน ปอดแม้ม
แพทย์เอ๊กซเรย์ ฉายฟิล์มใส่แฟ้ม
ฮู้หันถี่แจ้ง ปายใน

ปอดเป๋นจุดจ๊ำ ลามแผวหัวใจ๋
ถุงลมโป่งใน หายใจ๋ออกเข้า
อิดอ่อนเหลือแสน แกนอกเน้อเจ้า
หายใจ๋บ่เบา ฮอดต๊อง

โต้ษมันมีหลาย สหายปี้น้อง
อย่าได้เกี่ยวข้อง กับมัน
เพิ่นเตื๋อนบอกไว้ ไผก็ตึงหัน
แต่แล้วยังคัน ปากั๋นสูบได้

หาเงินฮิมต๋าย หมายมาเลี้ยงไส้
บุหรี่ทำลาย จีวิต
ใคร่อายุยืน อย่าไปฝืนคิด
หัดสูบอยู่ใกล้ มันเลย

คนตี้สูบแล้ว ก้อยละวางเฉย
เมินไปก็เกย ลวดเลยเลิกได้
บ่ต้องมียา หาหมอเหนือใต้
เสียเวลาไป เปล่าว้าง

มันอยู่ตี้ใจ๋ หลานได้เลิกร้าง
จีวิตเป่งกว้าง ยืนยาว-แหล่นายเหย

“จินดาพรหม จินดาหลวง”
“ชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาไทย”
“หอศิลปมรดกกวีล้านนา”
9/9 หมู่ 6 บ้านแม่นาป้าก ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150

อี่ปู่สอนหลาน (ภาคที่ 22)



อายุคนเฮา เหมือนต๋าวันจว้าย
หื้อฮักษาหมั้น ดีดี
ฮักเหลือกว่าทรัพย์ เงินคำดีหลี
ชีวิตอินทรีย์ จักหาไหนได้

หื้อหมั่นบำรุง ตั๋วเก่าไจ้ไจ้
ก่อยปล๋งวางไป อย่าละ
จักมีความสุข อายุวรรณะ
มั่งมูลมีด้วย เงินคำ

ทำบุญนักนัก ตอบส้ายเวรก๋รรม
ตี้เฮาได้ทำ ป๋างหลังได้สร้าง
การมีเมตต๋า กรุณาแผ่กว้าง
อย่าได้ตูมวาง ขว้างซัด

สัพเพสัตต๋า หื้อมีความฮัก
สัตว์ตั๋วใหญ่หน้อย เนอนาย
สัตว์ทุกชีวิต มีจิตกลั๋วต๋าย
จ๊าง, ม้า, งัว, ควาย เหมือนกั๋นชุผู้

มันบ่จ้างจ๋า มันบ่จ้างอู้
บ่เหมือนคนเฮา มนุษย์
สัตว์ตั๋วเปิ้งนาย อย่าตี๋อย่าตุ๊บ
เข่นขาค่ำฆ่า ราวี

สัตว์ตั๋วใหญ่น้อย อย่าได้บุบตี๋
เวระมณี จักจ้วยตั๋วเจ้า
เป๋นกำแปงยาย แวดล้อมอุ้มเฒ่า
กึ๊ดลังอันใด จ้วยก๊ำ-แหล่นายเหย

“จินดาพรหม จินดาหลวง”
“หอศิลปมรดกกวีล้านนา”
“ชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาไทย”
9/9 หมู่ 6 บ้านแม่นาป้าก ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง เชียงใหม่

อี่ปู่สอนหลาน (ภาคที่ 55)

อี่ปู่สอนหลาน (ภาคที่ 55)

จะเจ็บเมื่อยไข้ ก็เพื่ออาหาร
จะได้เตียวสงสาร ก็เพื่อใจ๋บาป
จะได้ตุ๊กข์ได้ยาก ก็เพื่อกิเลสตัณหา
จะได้วิบากหนา ก็เพื่อเอายศเป๋นใหญ่

อาหารก๋ารกิ๋น เมาวินฮ้อนไหม้
ล้วนแต่พิษภัย แวดล้อม
กิ๋นจิ๊นกิ๋นปล๋า กิ๋นผักกิ๋นพร้อม
ตกค้างสารฆ่า แมลง

ได้เจ็บเมื่อยไข้ เพราะอาหารแสลง
คาบเช้า-งาย-แลง หื้อแยงถี่ถ้วน
บ่กิ๋นก็ผอม กิ่นนักก็อ้วน
จ้อหว้อฮูวาย แต๊และ

แม้แต่เห็ดขอน เห็ดดอนเห็ดแพะ
กล๋ายเกิดเห็ดพิษ มีมา
เจ้นหม่อนเจ้นอุ๊ย บิตตู๋มาต๋า
พิษตกค้างครา บ่มีสักหน้อย

โลกยิ่งเจริญ ยิ่งปาเศร้าสร้อย
มีสารปล๋อมปน สัปป๊ะ
คนใจ๋อาธรรม นำมาเคล้าคละ
หื้อเกิดโรคได้ ตวยตัน

ก็เพราะสาเหตุ กิเลสต๋าหัน
ตั๋ณหาเงินพัน หมื่นแสนล้านได้
วิบากคนเฮา มัวเมามืดไหม้
เมายศล้ำไป เดือดฮ้อน แหล่นายเหย.

"จินดาพรหม จินดาหลวง"
"ชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาไทย"
"หอศิลปมรดกกวีล้านนา"
9/9 หมู่ 6 บ.แม่นาป้าก ต.แม่หอพระ
อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150

อี่ปู่สอนหลาน (ภาคที่ 24)

ใครกิ๋นหื้อหมั่นไป ใคร่ได้หื้อหมั่นเซาะหา
ใคร่ฮู้ใคร่จ๋า เข้าหาครูนักปราชญ์ผู้เฒ่า
หื้อจื่อจ๋ำกำดีเอา ไปสอนลูกเต้าและหลานต๋น
ก๋ารเป๋นคนเลย อย่าอยู่บ่ดายป๋างเปล่า

บ่อั้นก็จักเป๋น คาบเน่าห้อยฝาเฮือน
อย่าไปยับควายเหมือนจิบอกไฟเจือนเข้าบ้าน
อย่าไปจุล่ายต่าน จักเป๋นกั๋งวลและโศกไหม้
มักได้จ้างเสียของ อย่าไปขนข้าวของตอมจู๊

อย่าไปอวดอู้ ว่าตั๋วเป๋นดี
อย่าไปติเตี๋ยนเจียงจี ต๋นมีศีลในอาวาส
อย่าไปผะหมาด ยังก้าวเจ้าตังสาม
อย่าไปตัดหนาม ถมยังหนตางตั๋วเก่า

หื้อก่อยยำแยง ผู้แก่ผู้เฒ่า
เป๋นพ่อคนแม่คนแล้วเล้า อย่าคร้านยังก๋ารบ้านก๋ารเฮือน
รักเมียหื้อผูก รักลูกหื้อหมั่นถาง
เตียวตางหื้อมีเพื่อน เข้าป่าเข้าเถื่อนหื้อมีปื๋น

นอนเมื่อคืนหื้อ หมั่นไหว้พระเจ้า
ลุ๊กเจ๊าหื้อแล่นหาก๋าร คนต๋ำนานบ่ถ้าสอนถี่
เพิ่นตึงฮู้ตี้ อันจักเป๋นกุณ
ข้าวอยู่ยังนา ปล๋าอยู่ยังน้ำ

อย่าไปซ้ำผู้ผิด อย่าไปตัดสิทธิ์ปี้น้อง
สิ่งใดขัดข้อง หื้อเปิกษาหากั๋น

แหล่นายเหย...
"จินดาพรหม จินดาหลวง"
"ชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาไทย"
"หอศิลปะมรดกกวีล้านนา"
9/9 หมู่ 6 บ้านแม่นาป้าก ต.แม่หอพระ
อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150

แผนผังการเขียนค่าว


พญาพรหมโวหาร

ที่มา : http://www.chiangmai-thailand.net/person/phowoharn.htm




พระยาพรหมโวหาร

พระยาพรหมโวหารนับเป็นกวีที่เลิศในทางการประพันธ์ค่าว เป็นศิษย์พระยาโลมาวิสัย เป็นบุตรของแสนเมืองมา ผู้ดูแลคลังของเจ้าหลวงลำปาง พระยาพรหมเดิมชื่อ พรหมินทร์ เกิดเมื่อ ๒๓๔๕ ได้เล่าเรียนเบื้องต้นจากครูบาอุปนันทะ เจ้าอาวาสวัดสิงห์ชัย เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางมาศึกษากับครูบาปินตาเจ้าอาวาสวัดสุขเข้าหมิ้น (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดเจดีย์หลวง) เชียงใหม่ ศึกษาได้ ๓ ปี จึงกลับไปลำปาง เมื่ออายุประมาณ ๒๕-๒๖ ปี ได้ลาสิกขาบทและได้แต่งค่าวเรื่อง ใคร่สิก ขึ้นเพื่อลาอาจารย์และอุบาสกอุบาสิกา

เมื่อสึกแล้ว บิดาจึงได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์ของพระยาโลมาวิสัย ผู้เป็นเพื่อน พระยาพรหมจึงได้รับราชการในราชสำนักเจ้าหลวงลำปาง ทำงานด้านอาลักษณ์ และยังรับจ้างเขียนเพลงยาวที่เรียกว่า ค่าวใช้ ให้หนุ่มสาวที่มาจ้างเขียนอีกด้วย

ต่อมาเจ้าหลวงนครลำปางสั่งให้พระยาพรหมไปซื้อช้างที่เมืองแพร่ แต่พระยาพรหมเอาเงินที่จะซื้อช้างไปเล่นการพนันเสียจนหมดตัว เมื่อถูกทวงถามจึงแต่งค่าวชื่อ ช้างขึด บรรยายว่าช้างที่ว่านั้นเป็นช้างอัปมงคล (ขึด) ส่งไปลำปางเป็นคำตอบ การซื้อช้างไม่ได้นี้เป็นเหตุให้พระยาพรหมกลับไปลำปางไม่ได้ ต้อหนีอาญาอยู่ที่เมืองแพร่

ด้วยความสามารถในเชิงกวี ทำให้เจ้าหลวงเมืองแพร่รับเข้าเป็นกวีในราชสำนัก แต่เกิดมีเรื่องชู้สาวกับสนมเจ้าหลวงแพร่ จึงถูกจับขังและเตรียมจะประหารชีวิต แต่เจ้าอุปราชคำวงสาซึ่งโปรดปรานพระยาพรหม ขอร้องเจ้าหลวงให้รอลงอาญาไว้จนกว่าพระยาพรหมจะแต่งค่าวฮ่ำดำหัวเจ้านายให้เสร็จก่อน ต่อมาพระยาพรหมได้หนีออกจากคุกและได้พาศรีชมไปอยู่ด้วยที่บ้านสันคอกควาย อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาชีพค้าขาย ต่อมาพระยาพรหมไปทวงหนี้ที่บ้านทุ่งยั้ง กลับมาพบว่าศรีชมได้หอบข้าวของหนีตนไปโดยไม่บอกกล่าว พระยาพรหมเสียใจมากได้แต่งเพลงยาวขึ้นเพื่อให้ศรีชมอ่าน เรียกกันว่า ค่าวสี่บท หรือ ค่าวร่ำนางชม ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระยาพรหม ท่านแต่งเรื่องนี้ด้วยความสะเทือนใจในเรื่องรักที่ไม่สมหวัง เป็นการระบายอารมณ์กวีได้อย่างลึกซึ้ง มีข้อความไพเราะกินใจ เป็นคติจนเป็นที่จดจำของคนทั้งหลายต่อมาอย่างติดปาก ทั้งนี้เพราะท่านได้ปรับปรุงฉันทลักษณ์ของค่าวให้มีสัมผัสแพรวพราว ดังตัวอย่าง

“การบ่กิน บ่ช่างยู้ย้น บ่ตัดรากต้น งูนราน

ยามเมื่อรัก น้ำส้มว่าหวาน ใจบ่เชยบาน น้ำตาลว่าส้ม

เมื่อสองฟู่กัน ตกลงเหลียกหล้ม พี่ปลงอารมณ์ เชื่อน้อง

ก็มีบ่สม เหมือนชมปากพ้อง จาฟู่หย้อง เอางาม

ปากว่ารัก ใจในบ่ตาม ฟู่เอางาม น้ำใสซ่วยหน้า

พ้อยบ่มีเหมือน คำนายฟู่ข้า บ่สมวาทา แห่งน้อง”

ต่อมาพระยาพรหมขึ้นมาอยู่เชียงใหม่ เพราะเจ้าแม่ทิพเกสรโปรดละครแบบกรุงเทพ จึงให้พระยาพรหมแปลงความเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ จากภาษาไทยกลางมาเป็นคำค่าวภาษาล้านนา และได้เข้ารับราชการอยู่กับพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นที่โปรดปรานของทั้งเจ้าชีวิตอ้าวและจ้าแม่ทิพเกสร และได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ อายุ ๘๔ ปี

นอกจากจะเป็นกวีที่มีโวหารกล้าแล้ว ยังเป็นผู้มีความรู้ในศาสตร์อื่นๆ อีก เช่น ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ คชศาสตร์ ว่าด้วยการดูลักษณะช้าง ตลอดจนความรู้ทางด้านสมุนไพรต่างๆ จึงได้ใช้ความรู้เหล่านี้ประกอบในการแต่งกวีนิพนธ์ เช่น มหาพนตำรายา ที่แสดงความสามารถในเชิงกวี และความรู้ทางด้านตำรายาเกี่ยวกับต้นไม้ในป่าประกอบเรื่องมหาชาติชาดก กัณฑ์มหาพนของท่าน ดังกล่าวแล้ว

ผลงานของพระยาพรหมมีดังนี้

๑. ค่าวใคร่สิก

๒. ค่าวช้างขึด

๓. คำจ่ม

๔. ค่าวสี่บท หรือค่าวร่ำนางชม

๕. ค่าวหงส์หิน (ตรวจชำระตั้งแต่บทที่ 1-5) เข้าใจว่าจะเป็น ค่าวหงส์ผาคำ ที่พระยาโลมาวิสัยแต่งขึ้น

๖. ค่าวปู่สอนหลาน

๗. ค่าวพระอภัยมณี (แปลงจากกลอนของสุนทรภู่มาเป็นค่าว)

๘. มหาพนตำรายา

๙. ค่าวสรรพคำสอน

๑๐. ค่าวใช้ หรือเพลงยาวจดหมายรักของหนุ่มสาวสมัยโบราณของล้านนา

(มณี พยอมยงค์, ๒๕๑๖ : ๑๑๐-๑๑๕)

น่าเสียดายที่ผลงานบางเรื่องหาต้นฉบับไม่พบ เช่น ค่าวช้างขึด แต่ผลงานที่แพร่หลายมากก็มี เช่น คำจ่ม และค่าวสี่บท มีการพิมพ์เผยแพร่และยังพอจะหาศึกษาได้ ผู้เรียบเรียงได้ทราบมาว่า เรื่อง ค่าวสี่บท ของท่านได้รับการถ่ายทอดด้วยอักษรโฟเนติคเป็นภาษาล้านนา เพื่อเผยแพร่แก่นักศึกาาชาวต่างประเทศ และมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อนานมาแล้ว (วิคโก บรุน, สัมภาษณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓)

หน้าวัดสวนดอก

ปัจจุบัน ชมรมกวีพื้นบ้านล้านนาได้พยายามรวมตัวกันเพื่อฟื้นฟูการแต่งค่าวในโอกาสต่างๆ และได้จัดให้มีการไหว้ครูค่าว โดยถือเอาพระยาพรหมโวหารเป็นบรมครู ในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกๆ ปี โดยมาจัดงานร่วมกันที่อนุสาวรีย์ของท่านที่ประดิษฐานที่หน้าวัดสวนดอก อำเภอเมือง เชียงใหม่ นับเป็นนิมิตหมายที่ดีแก่วงการกวีพื้นบ้านล้านนา




ซอว้อง (ทำนอง ระบำเพลงพม่าแปลง)