เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

กินเมื่อยามร้อน ฟ้อนเมื่อยามเมา


กินเมื่อยามร้อน ฟ้อนเมื่อยามเมา
 หมายถึง กินอาหารขณะที่ยังร้อน ฟ้อนรำขณะที่ยังมึนเมำ เป็นการกระทำ ที่ถูกกาลเทศะ

“กิ๋นเมื่อใจ๋ยัง กิ๋นเมื่อดังสาบ”


กินเมื่อใจยัง กินเมื่อดังสาบ

เขียนคำอ่านให้ใกล้เคียงเสียงพูดของชาวล้านนาว่า
“กิ๋นเมื่อใจ๋ยัง กิ๋นเมื่อดังสาบ”

แปลว่าให้ถือโอกาสกินขณะที่มีลมหายใจ และกินเมื่อจมูกยังได้กลิ่นอยู่

สำนวนนี้เป็นภาษิตสอนว่า
ให้รู้จักใช้โอกาสดำรงชีวิตอย่างมีประโยชน์ในช่วงระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่
ก่อนที่จะถึงวัยชราภาพและสิ้นใจตายไปตามกาลเวลา.


กินปันพี่ พี่ปันน้อง

กินปันพี่ พี่ปันน้อง

“กล้วยบ่สุกก๋าบ่กิ๋น”



กล้วยบ่สุกก๋าบ่กิ๋น  อ่าน  (-ก้วย-บ่อ-สุก-ก๋า-บ่อ-กิ๋น-)

หมายถึง.....ยังนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม 

ก้นหม้อบ่ฮ้อน บ่เป็นแต่ไห มันเป็นแต่ไฟ บ่าใจ้กับหม้อ



ก้นหม้อบ่ฮ้อน บ่เป็นแต่ไห มันเป็นแต่ไฟ บ่าใจ้กับหม้อ
(อย่าด่วนตัดสิน สาเหตุของปัญหา ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน)

สุภาษิตกำเมือง

ก้นหม้อบ่ฮ้อน บ่เป็นแต่ไห มันเป็นแต่ไฟ บ่าใจ้กับหม้อ
(อย่าด่วนตัดสิน สาเหตุของปัญหา ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน)

กบไกล้ปากงู หนู้ใกล้บอกไม้ ชิ้นเกลือดังแมว
(ชายหยิงที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก ย่อมยากที่จะหักใจ)

ดำหัวปี๋ใหม่เมือง ป้อครูนันท์


ภาษาพูด (กำเมือง)
ภาษาเขียน (ตั๋วเมือง)
วรรณกรรม (ค่าว ซอ กาพย์ ร่าย กะโลง กำฮ่ำ)
เป็นเอกลักษณ์ (เครื่องหมาย บ่งบอก)
เป็นเอกราช (สิทธิ เสรีภาพ)

ของหมู่เฮา คนเมืองล้านนา
หากเราสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป
โดยไม่เห็นสำคัญ และช่วยกันสานสืบต่อ
ก็เท่ากับเราสูญสิ้นความเป็น "คนเมือง"
ไปโดยสิ้นเชิง

พ่อครูนันท์ นันท์ชัยศักดิ์
ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย
สาขาภาษา และวรรณกรรม 
ลำพูนโฆษณา
181/1 ถนนรอบเมืองใน
อำเภอเมือง
ลำพูน 51000
053-530359

นิราศกทม

     จบหกเพลงไป           หัวใจ๋ข้าน้อย              ก่อยิ้มออกได้             คนชม
เสียงปรบมือนั้น             ดังสนั่นขรม               มีคนนิยม                   อยากจะไค่ได้
เพลงสันป่าตอง              คนยองลุ่มใต้              ดังไปทั่วไทย             แน่แต๊

แด่แม่ ตุมา ศรีวิชัย

                        แม่
  แม่รักลูก        ทุกโมงยาม          ความรักแม่
ใหญ่ยิ่งแท้       รักจริง                 แสนยิ่งใหญ่
ใจดวงนี้           ที่แม่ห่วง             ดุจดวงใจ
จนยากไร้       ไม่ท้อแท้              แม้ยากจน

ชีวประวัติของพระยาพรหมโวหาร

                              ชีวประวัติของพระยาพรหมโวหาร
                บรมครูค่าว   รัตนกวีแห่งล้านนาไทย   พ.ศ.  ๒๓๔๕-๒๔๓๐
      พระยาพรหมโวหารเกิดในปี๒๓๔๕  ณ  ที่บ้านหน้าวัดทรงธรรมหรือวัดไทยใต้ของเมืองลำปาง
บิดาชื่อท่านแสนเมืองมา   ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเจ็ดตน    เป็นขุนนางของเจ้าหลวงผู้ครองเมืองลำ
ปางในสมัยนั้น   มารดาชื่อวันเพ็ญหรือวันเป็ง  เดิมชื่อพรหมมินทร์ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นอายุ๑๗ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสิงห์ชัย  เมื่ออายุครบ๒๐ปีก็ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดสิงห์ชัยนั่นเอง

ฉายารัฐบาล-รัฐมนตรีที่สื่อตั้งให้

    ฉายารัฐบาล-รัฐมนตรีที่สื่อตั้งให้
   สวัสดี                ปีเก่า                เข้าปีใหม่
ฉายาให้               ของนักข่าว       ทำเอาขัน
รัฐบาล                พี่คนแรก           แทรกความคัน
นายกนั้น             ปูกรรเชียง         เลี่ยงบาลี

คำอู้บ่าว-สาว แบบสมัยโบราณ

                             คำอู้บ่าว-สาว แบบสมัยโบราณ
       คำอู้บ่าว-สาว    สมัยโบราณไจ๊กั๋นสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง    มาสุดเสี้ยงกั๋นเมื่อปี๋ พ.ศ. ๒๔๙๐    ซึ่งผู้เขียนได้ไปค้นต้นฉบับจากพ่ออุ๊ยมูล    หลวงอ้าย   นักค่าวอาวุ
โสของอำเภอสันป่าตอง   เพื่อหวังจะนำมาให้ลูกหลานและผู้สนใจ๋ได้อ่านศึกษา    ว่าใน
ยุคหนึ่งของคนเมืองเหนือเฮา    เกยมีประเพณี-วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ดีงาม   นับว่าคนเมืองเหนือเฮาเป๋นเมืองศรีกวีแก้ว    เฮาจะฮู้ได้จากกำค่าว-กำเครือก๋ารอู้บ่าว-สาวนี่เอง
บ่าวหรือหนุ่มสมัยก่อนจะไปถึงบ้านสาว   จะเดินลัดเลาะไปต๋ามทางล้อทางเกวียนเพราะ
ว่าสมัยนั้นยังบ่มีถนนหนทาง   โดยบ่าวก็จะจ๊อยจะซอกั๋นไปเลื่อยๆก่อนจะถึงบ้านสาว
พอไปถึงบ้านสาว    ก็จะขึ้นไปนั่งตี้ใกล้เสาแหล่งหมาฮิมหัวคันได

คำบายศรีสู่ขวัญผูกข้อมือขวา

                  คำบายศรีสู่ขวัญผูกข้อมือขวา
       สวัสะดี                สิริโภคะ                 อายุวรรณะ                จัยยะดิถี
วันดีหนึ่งนั้น               แม่นมั่นดีหลี         มังคะละมี                  โบราณสืบเหง้า
ขอผูกมือขวา              สองผู้ว่าเจ้า             ภูเก็ตเมืองเฮา             คิ่นค้าย

คำบายศรีสู่ขวัญผูกข้อมือขวา

                  คำบายศรีสู่ขวัญผูกข้อมือขวา
       สวัสะดี                สิริโภคะ                 อายุวรรณะ                จัยยะดิถี
วันดีหนึ่งนั้น               แม่นมั่นดีหลี         มังคะละมี                  โบราณสืบเหง้า
ขอผูกมือขวา              สองผู้ว่าเจ้า             ภูเก็ตเมืองเฮา             คิ่นค้าย
       สัปป๊ะภัยยา         ไกลกลาเยื่องย้าย     ห่างจากท่านเจ้า         ปันวา

คำบายศรีผูกข้อมือซ้าย

                คำบายศรีผูกข้อมือซ้าย
         ศรีสวัสดี                สิริโยคะ                อุตตะมะ                 โจคะมากหลาย
ตั๋วข้าม่อนน้อย               จักขอขยาย            ผูกข้อมือเจ้านาย      ภูเก็ตเขตบ้าน
ผูกมือซ้ายขอ                 ป้อบัวไกว๋ก้าน       หื้ออยู่เจยบาน          จุ่มเนื้อ

คำคมกะโลงกลอน

                        คำคม
อย่าคร่ำครวญ              กับอดีต
อย่าหงุดหงิด                กับปัจจุบัน
อย่าเพ้อฝัน                  กับอนาคต

ของดีจายญิง

           คนตี้มางานศพมี  ๒๐  อย่าง
          ๑.  มาหื้อเจ้าภาพหันหน้า     ๒.มาถ้ากิ๋นเหล้า   ๓.มาเฝ้าไฮโลว์    ๔.มาโชว์เสื้อผ้า   ๕.มาถ้าเอาบุญ    ๖.มาอุดหนุนเจ้าภาพ   ๗.มากิ๋นลาบใกล้แจ้ง   ๘.มาแกล้งเปลี่ยนเกิบ(รองเท้า)    ๙.มาจ้วยเสริฟอาหาร   ๑๐.มาผลาญเจ้าภาพ    ๑๑.มาขอขมากราบศพ  ๑๒.มา
หลบๆล่อๆ    ๑๓.มาลักผ่อเมียจาวบ้าน    ๑๔มาฮอมตานต๋ามฮีต    ๑๕.มาสะหลิดจีบแม่ครัว   ๑๖.มาหนัวกิ๋นก้าเหล้า   ๑๗.มาถ้าเฝ้าเอาแก๋ง    ๑๘.มาแอบแยงแม่หม้าย      ๑๙.มา
ส้ายบ่าส้ายแฮง    ๒๐.มานั่งสะแกงส่ายขาอยู่หั้นดมยา

กำปัดเคราะห์

              กำปัดเคราะห์  ท่านผู้ว่า และคุณนายจังหวัดภูเก็ต
         อัชจะไจโส      อัชจะไจโย     อัชจะในวันนี้ ก็หากเป๋นวันดี เป๋นวัน ศรีใสงามวิเศษ
ข้าจักมาปั๊ดเคราะห์ภัยเหตุ     สัพพะเสนียดจัญไรตังหลาย     เคราะห์ปายในหื้อถอนออก      
เคราะห์ปายนอกหื้อถอยหนี    เคราะห์ราวีแก่กล้า    เคราะห์ตังหลายอย่าได้มาถ้า    เคราะห์ตังหน้าอย่าได้มาติด    เคราะห์ปาผิดเป๋นโต้ด    เคราะห์ร้ายโหดฉกรรจ์ 
เคราะห์หลายปัน    หลายอันหลายสิ่ง   หื้อดับมิ่งไกลกลา     หื้อตกไปต๋ามเส้นไหม
หื้อไหลไปต๋ามเส้นด้าย     หื้อเคราะห์เจ้าตังหลาย    ได้ยกย่างย้ายขอคลายออกจากต๋นตั๋วไป      ในก๋าละบัดนี้ยามนี้      ข้าจักด่าเคราะห์หื้อหนี     จักตี๋เคราะห์หื้อแล่น     ด้วยมนต์
ติ๊บแก้วแก่นอาคม      แห่งพระศรีโคดมต๋นวิเศษว่า      สัพพะทุขขา     สัพพะโรคา   สัพพะภะยา   วินัสสันตุ
            

คำค่าวคำคมกวีล้านนาภาค๕๙(แปลเป็นร้อยแก้วภาษาไทยกลาง)

    คำค่าวคำคมกวีล้านนาภาค๕๙(แปลเป็นร้อยแก้วภาษาไทยกลาง)
ดูควายตัวผู้                           ให้ดูที่คอใหญ่ๆ
อยากดูคนพาล                      ดูตอนเมาเหล้า
กิ่วของภูเขา                          มองดูเห็นได้
แต่กิ่วที่ดูไม่เห็น                   คือกิ่วของคนเรามนุษย์

กำค่าวกำคมกวีล้านนาภาค๑๘๙

      กำค่าวกำคมกวีล้านนาภาค๑๘๙
  โฉลกราศี                                    ปี๋เกิดนั้นเล๊า
ฟังกำคนเฒ่า                                  เนอจุมลูกหลาน
ราศีพฤษภ                                     ขันคำตั้งฐาน
เหนือแท่นภูบาล                           ( ดี ) แต๊เน่อเจ้า

กำค่าวกำคมกวีล้านนา ภาค ๗๐

       กำค่าวกำคมกวีล้านนา ภาค ๗๐
คนมีมานะ                               ย่อมประสพผล
สำเร็จกู้คน                               เป๋นจริ๋งแน่มั่น
คนบ่ทำงาน                             นอนฮานอยู่หั้น
ตึงบ่มีวัน                                 จวบป๊บ(ความสำเร็จ)

กำคม

   วันเอ๋ย.....วันนี้....
เป๋นวันตี้            สำคัญ            กว่าวันไหน
วันพูกนี้             วันฮือนี้          ดีอย่างใด
ก็บ่ได้                สำคัญ             เต้าวันนี้....

กาพย์ยานี๑๑

                                    กาพย์ยานี๑๑
                         ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
       เอกองค์มหิดล                              การุณชนทั่วไทยผอง
ทรงเป็นเช่นฉัตรทอง                          บังห่มป้องผืนถิ่นไทย
      พระทรงดำรงมั่น                          มีคุณอันที่ยิ่งใหญ่
แพทย์เราที่ก้าวไกล                             นำสมัยสู่สากล
      มีสุขพ้นทุกข์เข็ญ                           ไทยร่มเย็นทั่วแห่งหน
กองทุนมหิดล                                      คือผลิตผลวิชาการ
      น้อมเกล้าสดุดี                               ยี่สิบสี่กันยาผ่าน
คุณาปรีชาชาญ                                     บิดาการแพทย์ของไทย
                  
                     ด.ญ  ชลธิชา          จันทะพันธ์
                     ด.ญ  ศิริพรรณ       ปัญญาใจ๋
               ชมรมอนุรักษ์ภาษาวัฒนธรรมล้านนา
               อำเภอสันป่าตอง      จังหวัดเชียงใหม่