เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

ชีวประวัติของพระยาพรหมโวหาร

                              ชีวประวัติของพระยาพรหมโวหาร
                บรมครูค่าว   รัตนกวีแห่งล้านนาไทย   พ.ศ.  ๒๓๔๕-๒๔๓๐
      พระยาพรหมโวหารเกิดในปี๒๓๔๕  ณ  ที่บ้านหน้าวัดทรงธรรมหรือวัดไทยใต้ของเมืองลำปาง
บิดาชื่อท่านแสนเมืองมา   ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเจ็ดตน    เป็นขุนนางของเจ้าหลวงผู้ครองเมืองลำ
ปางในสมัยนั้น   มารดาชื่อวันเพ็ญหรือวันเป็ง  เดิมชื่อพรหมมินทร์ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นอายุ๑๗ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสิงห์ชัย  เมื่ออายุครบ๒๐ปีก็ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดสิงห์ชัยนั่นเอง

      เมื่อครองสมณะเพศพระพรหมมินทร์มีความสามารถในการเทศน์  กัณฑ์กุมารและมัทรีฉบับพื้น
เมืองเสียงดีมาก  ใครๆได้ฟังก็หลงใหลในเสียงไม่รู้เบื่อ    เล่าต่อกันในสมัยนั้นว่าใครไม่ได้ฟังเสียง
พระพรหมมินทร์เทศน์ก็นับว่าเสียชาติเกิดทีเดียว  เมื่อพระอาจารย์เห็นว่าพระพรหมมินทร์เก่งกล้าในภาษาพื้นเมืองและเทศน์แล้ว   ก็ได้นำท่านไปฝากเรียนอักขระบาลีที่วัดสุกขมิ้นเชียงใหม่จนจบอักขระบาลีจากอาจารย์ปินตาได้๓ปี   ก็ได้ขอลากลับไปยังเมืองลำปางแล้วก็ลาสิกขาในเวลาต่อมา
      เมื่อลาสิกขาออกมาก็จับเอาชีพเป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว  ค่าวฮ่ำรำพึงรำพันจนโด่งดังไป
เขมร-ลาวลือเลื่องถึงเมืองนครอย่างเดียวกับสุนทรภู่  (พรหมมินทร์อยู่ส่วนภูมิภาคจึงไม่มีผู้รู้จักมาก
เหมือนสุนทรภู่ที่อยู่ส่วนกลาง)   ในสมัยนั้นทางเมืองล้านนาพ่อหนุ่มคนไหนพอใจแม่หญิงคนใดก็จะมาว่าจ้างพรหมมินทร์แต่งจดหมาย  เป็นค่าวหรือกวีของคนเมืองล้านนาซึ่งนิยมกันเมื่อ๕๐-๖๐ปี
ก่อน  จนกระทั่งสำเร็จตายใจได้แต่งงานอยู่กันอย่างมีความสุขทุกรายไป
      เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดังก็ได้เข้าไปรับใช้เจ้าพ่อเมืองลำปางและเป็นที่โปรดปรานมาก    จนท่านวาง
ใจใช้ให้ไปซื้อช้างเผือกที่เมืองแพร่  โดยให้เงินเดินทางไปเมืองแพร่ตามรายทางมีบ่อนการพนัน-สุ
รา-นารีเพลินใช้เงินจนหมด   ตกลงไม่มีเงินซื้อช้างก็เขียน (กวีค่าว) เรื่องช้างขึ๊ด (หรือช้างอาเพศ)
ส่งฝากลูกหาบเดินทางมาให้เจ้าเมืองลำปาง   พ่อเจ้าเมืองลำปางรู้ความจริงเลยคาดโทษพรหมมินทร์กลับลำปางเมื่อใดหัวขาดจากบ่าทันที
       เมื่อกลับลำปางไม่ได้พรหมมินทร์อยู่ที่เมืองแพร่   ด้วยเห็นเป็นกวีฝีปากเอกเจ้าพ่อเมืองแพร่จึง
ได้โปรดให้เป็นกวีประจำสำนัก   สามารถเข้านอกออกในได้เป็นที่ชอบพอของสาวสนมกรมใน  จน
ได้ไปรู้จักชอบพอกับสาวศรีจมสาวใช้ในวังคนหนึ่งเป็นพิเศษในวังหลวงเจ้าเมืองแพร่ก็ได้ความเอ็น
ดูจากหม่อมสนมนางหนึ่งของเจ้าพ่อเมืองแพร่   ได้ให้ที่พักผ่อนอาศัยหลับนอนด้วยความสุจริตใจ
แต่ก็ได้รับความระแวงสงสัยจากเจ้าเมืองแพร่   ได้ให้จับพรหมมินทร์ขังคุกและให้ทำการประหารชีวิตเสีย   ก่อนถึงวันประหารพรหมมินทร์ก็ได้แหกคุกหนีออกมา  พรหมก็ไปรับศรีจมคู่รักพากันหนีไปอยู่ที่เมืองลับแลอุตรดิตถ์   ทำมาค้าขายเลี้ยงครอบครัวซึ่งอยู่ได้ไม่นานศรีจมก็ถูกพรากไปจาก
อ้อมอก   เมื่อพรหมไปค้าขายแรมเดือน   กลับมารู้ว่าศรีจมถูกพรากไปก็เสียใจมาก  ได้เขียนค่าวสี่-
บทบรรยายไว้  อันเป็นบทประพันธ์ค่าวที่อมตะสืบมาจนทุกวันนี้
       

      ไม่มีศรีจมอยู่ลับแลไม่ได้แล้ว   กลับเมืองแพร่-ลำปางก็ไม่ได้   ระหกระเหิรเดินทางสู่เชียงใหม่
บุญและวาสนายังพอมีก็ได้มาเป็นกวีแก้วคู่พระทัย  ของเจ้าแม่ทิพย์เกสร ชายาเจ้าพ่ออินทวิชยานนท์
ผู้ครองนครเชียงใหม่   และให้ประทานยศถาบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่  พระยาพรหมโวหารปฏิภาณกวี
ศรีนครเชียงใหม่  พร้อมด้วยข้าวของเงินทองและบ้านช่องห้องหอ  เรือกสวนไร่นาข้ารับใช้    ท่าน
ก็ได้ครองสุขอยู่กับสาวเจ้าบัวจันทร์  ณ  เชียงใหม่    จนกระทั่งถึงปี  พ.ศ.๒๔๓๐ท่านก็ได้อำลาโลกนี้ไปตามอายุขัย   รวมอายุได้๘๕ปี    โดยได้ทิ้งผลงานประพันธ์อันยิ่งใหญ่ไว้คู่บรรณโลก    โดย-เฉพาะค่าวสี่บท   คำจ่มพระยาพรหม  พร้อมด้วยบทประพันธ์อื่นๆอีกมากมาย
             รูปัง   ชีระติ   มัจจานัง   นามะโคตตัง    นะชีระติ  พรหมมินทร์สิ้นแล้วซึ่งชีวิตและสังขาร
แต่ผลงานชื่อเสียงของท่านยังคงอยู่คู่ล้านนาของเรา   ตราบเท่านิรันดร
                        
                                     นายถนอม    ปาจา
      ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่๗   สาขาภาษาและวรรณกรรม   เรียบเรียง

                              ๒๗   กรกฎาคม   ๒๕๕๖