เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

แม่ครูบัวซอน เมืองป๊าว และป้อครูสีหมื่น เมืองยอง


แม่ครูบัวซอน เมืองป๊าว และป้อครูสีหมื่น เมืองยอง บุคคลสำคัญสองท่านนี้เป็นผู้สืบสานตำนานขับขานตำนานพื้นบ้านล้านนาอย่างโดยเเท้จริ

รัฏฐปกรณ์ เหมธิบดินทร์

ค่าวฮ่ำ ลาต๋าย


เผยแผ่ครั้งแรกใน วารสารลมแล้ง เมษายน 2552  ก่อนเสียชีวิตประมาณ  2 เดือน






ประวัติอาจารย์รสสุคนธ์ รักษ์กวี


อาจารย์รสสุคนธ์  รักษ์กวี หรือ พ่อครูถนอม ปาจา



เกิดวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

ที่อยู่ ๔๓/๑ หมู่ที่ ๗ บ้านสันห่าว  ตำบลบ้านกลาง
อำเภอสันป่าตอง  จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติอาจารย์ นันท์ นันท์ชัยศักด์











อาจารย์ นันท์ นันท์ชัยศักด์

ครูภูมิปัญญาไทย ด้านภาษาและวรรณกรรม

ครูนันท์ นันท์ชัยศักดิ์ ปัจจุบันอายุ 66 ปี
เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2479
ที่ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
เป็นบุตรนายมา และนางทิพย์ นันท์ชัยศักดิ์
สมรสกับ นางสาวบุญยวง นานินทอง มีบุตรชายและหญิง รวม 2 คน

คร่าวฮ่ำ “ลูกคนเมือง อู้กำเมือง บ่เป็น”


คร่าวฮ่ำ “ลูกคนเมือง อู้กำเมือง บ่เป็น”

โดยพ่อครูนันท์ นันท์ชัยศักดิ์ ครูภูมิปัญญาไทย[1]

หละอ่อนลูกหลาน              บ้านเราเดี่ยวนี้                      บ้านโฮ่งโหล่งลี้                   แม่แจ่มหนไกล
เชียงรายก็แล้ว                      พะเยาหรือไหน                   เชียงใหม่ก็ตาย                     ผดแผวหนองหล้อง

พากันอู้ไทย                          กันอยู่จ้องจ้อง                      แท้เขาคนยอง                       ของแท้
มาละลืมกัน                           กำเมืองแท้แล้                       ไผบ่ชอบสู้                            คำเมือง
มางืดใจแท้                            ชาใดเขาเหยือง                    บ่อู้คำเมือง                             ภาษารากเหง้า

สะล้อซอซึง                          จ๊อยซอคนเฒ่า                      เขาสัวะวางลง                      คว่างน้ำ
จักหาไผไหน                        มาชูช่วยค้ำ                            หื้อหวนป้อกปิ๊ก                   คืนมา
หละอ่อนเดี่ยวนี้                   คำเมืองภาษา                        พากันลืมลา                           ไผบ่ใคร่อู้

ชมรมกวีล้านนา

ที่มา : http://www.teeneelanna.com



สัมภาษณ์พ่อครูนันท์ นันท์ชัยศักดิ์
ประธานชมรมกวีล้านนา (2544-2555)
เรื่องความเป็นมาของชมรมกวีล้านนา และงานดำหัวพญาพรหม
31-3-2555 ณ บ้านพ่อครูนันท์ (ลำพูนโฆษณา) อ. เมือง ลำพูน

ชมรมฟื้นฟูกวีล้านนา หรือ ชมรมกวีล้านนา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527
โดยการนำของ อ.กำธร จินดาหลวง (จินดาพรหม จินดาหลวง)
ด้วยเงินทุนตั้งต้น 5,000 บาท

คุณธรรมนำจีวิต


วิถีวังวน ของคนเฮานั้น เปิ้นแขวดกฏกั้น อันเป๋นวงจ๋ร 
ว่าเฮามนุษย์ ผุดเคลื่อนย้ายถอน เข้าสู่อุทร ของตั๋วแม่เจ้า 
จ้าตก่อนเกยหนุน บุญนำต่องเต้า สู่มรรคาเฮา โลกนี้ 

ทำบุญสุนตาน เมินนานหมื่นลี้ มีตระกุ๋ลอั้น คนรวย 
มั่งมูลตุ้นเต้า คิงเลาฮ่างสวย คนนับถือตวย ล้อมหลังล้อมหน้า 
หน้าที่ก๋ารงาน สืบสานแก่กล้า เป๋นผู้นำปา หมู่มิตร 

ลูกสาวไผ



ลูกสาวไผ คนตี้ไหนนั้น มาสุมตี้หั้น เขาแป๋งอะหยัง 
ปุ๋นดีไค่ฮู้ เขาลู่กั๋นสัง ส่งเสียงดูดัง ฟังเหมือนเปิ้นไห้ 
ปอบ่เกร๋งขาม คนหมู่ต๋ามใกล้ จักลำคาญไป เ ดือดร้อน 

หันเครื่องแต่งตั๋ว ขนหัวสะต๊อน ย้อนใส่เสื้อผ้า มาเฮียน 
ปอค่ำป๋านนี้ ปุ๋นดีปวดเศียร ตั๋วเป๋นนักเรียน สังทำอย่างอี้ 
กิ๋นเหล้ากิ๋นยา มาสับปะหลี้ นั่งสูบมูลี แถมซ้ำ 

ของบ่าเก่าตี้เฮาควรสืบสานไว้สู่เจ้นลูกเจ้นหลาน


คนแก่ (คนเฒ่า)มีหลายอย่าง ๒๐อย่าง
๑ แก่เหนียวหัวหวาย
๒ แก่แดดดายดอก
๓แก่หยอกลูกหลาน
๔แก่หาญแต่ป่า

ค่าวสงครามกับจีวิต



หากว่าเฮา เอาโลกเฮานั้น มาวางตั้งหั้น ตรงหน้าเฮาหนอ 
แล้วมาพินิจ คิดดูต้นต๋อ ทั่วผไทนอ กว้างใหญ่เน่อเจ้า 
เฮาก็จะหัน กั๋นชัดถี่เข้า ว่ามือคนเฮา สร้างไว้ 

แน่ละผลงาน ก่อสานสืบไท้ วัตถุเหนือใต้ นานา 
แต่มือคนนั้น บ่มั่นฮักษา ทำลายศรัทธา ตี้ตั๋วร่ำสร้าง 
วัตถุถิ่นฐาน ร้าวฉานแตกบ้าง ก็เพราะมือคน แย่งยุทธ 

ค่าวหาเสียงผู้แทน...เสียงจากชาญชัย ไพรัชกุล



ขอสวัสดี เจ้าปี้นายน้อง ทั่วโขงเขตห้อง บ่ว่าใกล้ไกล๋ 
สิบสี่ตุลา อย่าหนีไปไหน ประชาธิปไตย เบ่งบานทั่วหล้า 
ไปเลือกส.ส. สู่สมัยหน้า ฮับไจ๊ประชา ปี้น้อง 

ปิ๊จจ๋าระณา อย่าหื้อเปิ้นก๊อง จู๋งฮูดังอั้น เหมือนควาย 
ไจ๊ดุลพินิจ คิดเองมั่นหมาย อย่าเจื่อน้ำลาย หัวคะแนนหั้น 
เปิ้นบอกว่าดี อย่ามีใจ๋สั้น หลงเหลี่ยมเจิงมัน แม่นตั๊ด 

งัวต๋ายกิ๋นหญ้า


ยอมือสา วันตาปี้น้อง ทั่วโขงเขตห้อง ล้านนาเขตขาม 
ป้อครูต๋นเก๊า เจ้าแก้วตังสาม เถรสงฆ์องค์นาม คุณงามแก่กล้า 
ม่อนขอขยาย งัวต๋ายกิ๋นหญ้า ฮ่ำพรรณะณา แต่งคิด 

มีลุงหนานถา มานั่งร่ำปิ๊จ จิตใจ๋ขุ่นข้อง วองแวง 
งัวไอ่จั๋นนั้น มันต๋ายปอแข็ง มันยังลงแฮง เกี่ยวหญ้ามาหื้อ 
ผ่องัวมันนอน ห่อนดักจื้อกื้อ บ่หือบ่อือ แถมซ้ำ 

ความเขื่องบนความจริง



ท่ามกลางความ ผันผวน ชวนให้คิด 
ถ้อยลิขิต ก้าวกระโดด โลดกล้าหาญ 
ความจริงก็ ใช่เรื่องใหม่ ในรัฐบาล 
ที่ทุกท่าน จะมา ฮือฮากัน 

ถ้าหากเรา ก้าวไป โดยไม่พร้อม 
เราก็ย่อม เหยียบตรง ไม่คงมั่น 
หากมิคิด กาลไกล ให้เท่าทัน 
แล้วสักวัน คงเพลี่ยงพล้ำ ต่ำลงมา 

ค่าวฮ่ำแอ่วปี๋ใหม่เมืองบ่ต้องกิ๋นเหล้าก่อม่วนได้



วจนํ มาฟังค่าวจ๊อย ตั๋วข้าม่อนน้อย จักขอไขจ๋า 
ปี๋ใหม่ปี๋นี้ ปี๋ตั๋วเปิ้งหมา ฮ้อนแฮงภัยยา ปาเดือดฮ้อนไหม้ 
ดาวศุกร์ทับเสาร์ ดาวพุธอยู่ใกล้ ดวงของเมืองไทย เอ่าปิ๊จ 

ไฟบ้านก๋ารเมือง นันเนืองทั่วทิศ ความคิดแตกขั้ว กั๋นไป 
ฝ่ายไล่นายก ยกเรื่องโปร่งใส ขายหุ้นคมไทย ปลอดภาษีหั้น 
หมดจริยธรรม ผู้นำดั่งอั้น ประท้วงเนืองนัน ต่อต๊า 

สืบสานต๋ำนานปิงห่าง- ไส้อั่วหละปูนครั้งที่๖



มโนนัย หัวใจ๋จื่นจ๊อย ม่อนจักไขถ้อย กวีโวหาร 
ฮ่วมอนุรักษ์ จักนำสืบสาน เป๋นเรื่องต๋ำนาน หื้อมันถี่ถ้อย 
คนเมืองหละปูน อุ่นใจ๋บ่หน้อย ฮักษาฮีตฮอย เคร่งครัด 

ต๋ำบลอุโมงค์ เกี่ยวโยงแม่นตั๊ด มีประวัติอั้น ยาวนาน 
กำนันคนเก๊า เข้าบริหาร จื่อหลวงประทาน ขุนอุโมงค์เจ้า 
ส่วนคนตี้สอง ปกครองต่อเข้า จื่อ หมื่นบุญตัน ต้านต๊าว 

ค่าวจั๋นต๊ะกุมาร



ป๋าระมี ขันตี๋เตี้ยงเต้า ป๋างพุทธเจ้า ได้ทะรงต๋น 
เสวยจ้าตนั้น อันเตื่อมกุศล โลกหล้าเมืองคน ลูกเอกราชเจ้า 
แห่งเมืองบุปผะ วดีจ๋อมเกล้า นามขององค์เลา จั๋นต๊ะ 

ได้เป๋นมหา อุปาราชะ ปิต๋าแต่งตั้ง ดูงาม 
มีปุโรหิต กู้คิดถ่องถาม กัณถะหาลพราหมณ์ ผู้ห่ามกระด้าง 
ขี้โลภโกงเขา ฮับเอาสินจ้าง ตัดสินความตาง หลิ่งย้อน 

ค่าวฮ่ำเรื่อง.....ตุ๊ก.....


มโนนัย หัวใจ๋มุ่นมุ๊ก อู้เรื่องความตุ๊ก นั้นมีหลากหลาย 
ตุ๊กจาวนานั้น บ่จ้างก๊าขาย ตุ๊กใจ๋เนอนาย ทำนาปลูกข้าว 
น้ำป้อยล่อยหลอ ดินก่อแตกห้าว ถอดใจ๋นอนยาว เป๋นครั้ง 

ตุ๊กดำหว่านไถ บ่ได้หยุดยั้ง ตุ๊กนอนตูบห้าง คนเดียว 
ตุ๊กป้อก๊านั้น น้ำลายปอเหนียว ขายเสื้อผืนเดียว น้ำลายปอแห้ง 
ลูบๆซวามๆ ถามเหมือนดั่งแกล้ง ตี่ๆแยงๆ แบบนั้น 

ความฮักของคม


สุดตี้ฮักจ๋า กึ๊ดเติงหาน้อง สังมาขุ่นข้อง หัวอ๊กหัวใจ๋ 
เมื่อตะคืนนี้ น้องไปตี้ไหน ว่าจะโทรไป หาน้องดั่งอั้น 
หมู่หละอ่อนเขา เหมาโทรอยู่หั้น ตั้งหัวค่ำยัน เดิ๊กค้อย 

ถ้าบ่ไปไหน อย่าได้ใจ๋น้อย วันนี้ตั๋วอ้าย โทรมา 
ขอบอกแถมครั้ง ยังกึ๊ดเติงหา น้องกู้เวลา แม้ยามกิ๋นเข้า(ข้าว) 
นอนหลับยังฝัน ได้หวันกอดเจ้า จูบสองนมเนา นาทน้อง 

ค่าวหมอเจ้าฟ้าคือประทีปแห่งความศรัทธา


ยอผะหนม บังคมบาทพระ องค์เอกจัยยะ แห่งเมืองสยาม 
นาบุญห่มฟ้า ก้องหล้าเขตขาม มหิดลนาม งดงามบ่หน้อย 
ได้ฮ่วมสมปาน สานดีถี่ถ้อย เป๋นสายใยฮอย จ่องจั๊ก 

คนในแผ่นดิน ถิ่นไทยใฝ่ฮัก ประจักษ์กราบไหว้ วันตา 
ผลงานป้อไท้ ทรงได้อ่วงหา ปัดเป่าภัยยา ตี้มาเกี่ยวข้อง 
ทรงบำเพ็ญต๋น บนความถูกต้อง เปื้อถิ่นแดนทอง เป่งว่ะ 

จดหมายตี้แนวหน้า



นั่งเขียนจดหมาย ส่งใจ๋ใฝ่ห้อย หมึกแดงขีดถ้อย เรียงร้อยอักษร 
บอกถึงสัญญา ฮักอนุสรณ์ กู้ถ้อยกำวอน ก้อนไก้จากห้อง 
มโนหัวใจ๋ อาลัยอ่วงข้อง ถึงนวลออง ยอดจู๊ 

ว่าคงบ่เกิ๋น บ่เมินกลิ่นกู๊ แล้วปี๋จะเข้า มาใจ 
พร้อมเงินค่ารบ รับจ้างไฉน อันเป๋นเ งินไทย ก้อนใหญ่บ่หน้อย 
เปื้อคนแนวหลัง ตี้หวังใฝ่ห้อย เป๋นกู้นอนกอย เพ่งพิศ 

มือตี้ผ่อบ่หัน



มือผ่อบ่หัน นี้มันลี้ลับ สังมากีดกั๊บ หัวอ๊กหัวใจ๋ 
บ่อาจจะยับ จั๊บต้องข้องไข กั๊บตั๋วคนใด ไผตี้เกี่ยวข้อง 
แต่เป๋นอย่างใด อู้ไปหล้องหล้อง เหมือนมองหันมือ นั้นเน๊าะ 

นี่แหละโวหาร ของก๋ารบ่มเพาะ เหมาะเหม็งแห่งด้าน ก๋ารเมือง 
อู้อะหยังนั้น ดูมันไปเปลื๋อง ปล่อยความขุ่นเคือง บานปล๋ายดั่งอั้น 
เรื่องดำหื้อขาว เรื่องยาวหื้อสั้น ผิดเป๋นถูกมัน งืดล้ำ 

ประชาธิปไตย เ กิ่งใบขุ่นจ้ำ ปิ้นจะหลิ้นได้ เป๋นลาย 
ต๋อนหาเสียงนั้น เถียงกั๋นฮิมต๋าย ปุ๋นน่าดีอาย ปู่ลุงแม่ป้า 
อวดพรรคตั๋วดี บ่มีบาปบ้า บ่คบปาลา เ ถื่อนยักษ์ 

ค่าวศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสันป่าตอง



ก๋ารศึกษา ถ้าเฮาใฝ่ฮู้ ใจ๋ฮักหุมสู้ มันบ่เสียหาย
ไปว่าแก่แล้ว มันยังบ่ขวาย บ่น่าดีอาย ตี้ไหนสักหน้อย
บ้านเมืองสมัย ไผความฮู้ดัอย เซาะหางานดี ยากล้ำ

อย่าได้ทำตั๋ว เมามัวขุ่นจ้ำ มากึ๊ดฮอดด้าน ตางเฮียน
ไผคิดใฝ่ฮู้ หมั่นดูหมั่นเขียน มีความพากเพียร ไผเฮียนไผได้
บ่ได้ศึกษา ปั๋ญญาบอดใบ้ ฮิหาเงินไทย ฝืดกั๊บ


แก้วมาลูน


เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเล่า
แต่พอเจ้า กลับไป อะไรเหลือ
ตอนเจ้าอยู่ ใช้ตังค์ อย่างเหลือเฟือ
มีแต่เสื้อ ผืนเก่าเก่า ยามเจ้าไป

ปลูกบ้านโชว์ โตเท่าวัง หลังเบ่อเริ่ม
เฟอร์นิเจอร์ เกรดดี จะมีไหน
ติดแอร์เย็น ชื่นฉ่ำ ดื่มด่ำใจ
ระย้าไฟ ใส่เป็นสิบ ระยิบตา


ขอหื้อถึงวันนั้น



มโนนัย หัวใจ๋สะต๊าน หันคนหน้าด้าน มันหื้อลมเสีย
หมู่ ส.ส.นั้น มันอย่างใดเหีย กึ๊ดแล้วก่อเพลีย หัวใจ๋ดั่งอั้น
ประชาธิปไตย ไปบ่รอดดั้น ยุบลงกลางคัน แน่แล้ว

มาลืมพรรคตั๋ว เหมือนงัวลืมแฮ้ว ไปหลงแหวนแก้ว เงินทอง
บ่อยากอยู่ค้าน หื้อมันมัวหมอง หวังฮ่วมปร๋องดอง พรรคดังโอบเอื้อ
มีจิตใจ๋หลง ผะวงกู๋ลเกื้อ ได้ฮ่วมลำเฮือ เปิ้นล้ำ

ถึงบ่ดูดหนอ ก่อไหลเหมือนน้ำ บุบุ่นจ่อจ้ำ อิงนาย
อ้างตี้ย้ายพรรค ต๋ามกระแสสาย ความหวังญิงจาย ประชาชนหั้น
ต๋ามโพลสอบถาม ติดต๋ามสอดดั้น ของหมู่จุมงัน ทั่วทิศ

ผมมานึกใจ๋ ดวงทัยร่ำปิ๊จ มาคิดกล่าวอ้าง เวียนวน
อ้างจาวบ้านนั้น หื้อมันสับสน ต๋ามใจ๋ตั๋วคน ต๋นเองแต้ใบ้
เอาดีใส่ตั๋ว บ่กลั๋วหม่นไหม้ ป้ายความจั๋นลัย เปื้อนป๊อง


อยู่อย่างไรให้มีสุขแบบเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมยุคโลกาภิวัตน์



ยอหัตถา วันตานบน้อม ต่างดวงดอกส้อม ธูปไต้เตียนสี
แด่องค์พุทธะ ธรรมะเป๋นศรี สังฆะมุนี สีใสบ่เส้า
สร้างดวงปั๋ญญา นำมาเตื่อมเหง้า แก่ต๋นแห่งเฮา แม่นตั๊ด

เป๋นป๋าระมี มีผลเคร่งครัด บ่หมองหม่นฝ้า มัวมน
แก้วสามดวงนี้ มีคุณกุศล หล่อหลอมใจ๋คน หื้อใสเป่งแจ้ง
เป๋นบุญสมปาน เบ่งบานบ่แห้ง เหมือนแสงมณี จ้วยก๊ำ

บุญของคนไทย บ่ได้เหลื่อมล้ำ บ่ปุ๊ดขาดคว่ำ เปปัง
เฮามีเจ้าฟ้า ราจาตี้หวัง เป๋นเหมือนบุญบัง ป๊กปอห่อหุ้ม
สัปป๊ะภัยยา ตี้มาก่อตุ้ม ผ่อนหายคลายจุม มอดมิด


ค่าวหาเสียงนายก อ.บ.ต. หรือ อ.บ.ต.....


ขอสวัสดี เจ้าปี้นายน้อง เปื้อโขงเขตห้อง บ้านกล๋างก้าวไกล๋ 
สามสิบเอ็ดนี้ บ่ดีไปไหน ประชาธิปไตย เบ่งบานทั่วหล้า 
ไปไจ้สิทธิ์กั๋น หื้อมันถ้วนหน้า ครูเหลิมเบอร์กา หนึ่งจั๊น 

ขอเสนอตั๋ว เป๋นนายกฯนั้น จ่วยฐานถิ่นอั้น เมืองเฮา 
ทางเลือกใหม่นี้ บ่มีเหมือนเขา จะรับฟังเอา เสียงของจาวบ้าน 
ขอเปิดหูต๋า จะบ่ขี้หย้าน เรื่องงบประมาณ ว่าไว้ 

กำค่าว กำคม ปฐมกวี ของดีล้านนา

ยอหัตถา วันตานบน้อม แตนดวงดอกส้อม มาลัยบุบผา
ป้อครูต๋นเก๊า เจ้าเหนือเก๋ศา ลูกขอขมา ก่อนจ๋าเล่าอู้
ของดีล้านนา นำมากอบกู้ เป๋นคิ่นกำครู หนุนก๊ำ

มีแก้วในมือ คนตือง่าวล้ำ ปล่อยหลุดขาดคว่ำ เปปัง
เหมือนกล้วยบ่มอุก สุกอยู่ในถัง บ่กิ๋นขะนัง ปาเน่าเหียอั้น
กวีล้านนา มีมาฮอดหั้น อันเป๋นกำคม บ่มเจื้อ

เป๋นติ๊บมาลา เฮาน่าฟักเฟื้อ เปื้อสานสืบหื้อ มันดี
เป๋นมรดก ตี้ควรขัดสี เป๋นแก้วกวี ตี้ควรอวดอ้าง
หากเฮาตังหลาย บ่ผายหื้อกว้าง ปล่อยละเลยวาง เปล่าว้า

คงจะสูญหาย ปายในบ่จ๊า นับเป๋นตี้น่า ดีอาย
ของตี้บ่ไจ๊ ละไว้จ้างหาย ของเก่าลืมลาย เสียดายบ่หน้อย
มาละแสงไฟ ไปเป่าหิ่งห้อย ปาไกล๋จอยวอย เฮี่ยค้าง

เปิดสอนค่าว และดนตรีพื้นเมือง


                “ ชมรมอนุรักษ์ ภาษาวัฒนธรรมล้านนาสายใต้ ”
                                    
       นำโดยอาจารย์ รสสุคนธ์ รักษ์กวี หรือ อาจารย์ถนอม ปาจา





เปิดทำการสอนบุคคลทั่วไป เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา
ที่สนใจในการแต่งกลอน  แต่งค่าว และดนตรีพื้นเมือง 
รับสอนฟรีในวันเสาร์และวันอาทิตย์

วิถีจีวิตคนเมือง

เซาะปล๋าเซาะปู๋ แตงฮูเหยี่ยนย้อน แบกแซะแอ่วส้อน ต๋ามวัง
ได้ปล๋าแล้วเล้า เก็บเอามาขัง ต๋าวันลงยัง ไล่ควายปิ๊กบ้าน
อาบน้ำแต่งตั๋ว บ่หนัวขี้หย้าน จิตใจ๋เจยบาน ม่วนล้ำ

กิ๋นข้าวแล้วบ๋อ ลุกต่อกิ๋นน้ำ ก๋ำใส่อมเหมี้ยง มูลี
มานั่งเติกเม๊อะ เป๊อะอิง
สะหลี ก๋ำค่าวเครือมี มาอ่านม่วนเหล้น
ค่าวก่ำก๋าดำ กะตำปล๋าเต้น บัวระวงค์เย็น คิ่นกู๊

ลูกหลานมาฟัง พ่องนั่งมูบมู๊ หลับฟังคนอู้ ยังมี
ฝนมาก๋าฮ้อง น้ำนองหัวปี๋ ปอแจ้งขวายดี เก็บปู๋ใส่ข้อง
เกียมแอกเกียมไถ ไล่ควายสู่ห้อง เปื้อไถดินดอง บ่มไว้

เอามื้อเอาวัน เตื่อมกั๋นจ้วยไจ๊ ต๋อนปลูกจะได้ เบาแฮง
เลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำ ต๋ำพริกบีบแก๋ง ต๋าวันลงแลง ก่อมีน้ำเหล้า
ขนข้าวแล้วกา แม่นาต๋นเจ้า เก็บขวัญข้าวเอา ถี่จั๊น

ต๋อนสุดต๊ายกา ป้อนาตี้นั้น สูมาควายหั้น เลยลา
ไขขียา นำมาเต้าอี้ วิถีจีวีคนเมือง ก่อนแหล่นายเฮย.


รสสุคนธ์ รักษ์กวี
๔๓ /๑ หมู่๗ ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
๕๐๑๒๐
( โทรศัพท์ ๐๘๖-๙๑๔๘๕๓๗ )
๑๕ เมษายน ๒๕๕๑

ที่มา : http://muslimlanna.unbbz.com/

ความเป็นมา






อาจารย์ของผม (ครูกำธร จินดาหลวงหรือ จินดาพรหมรัตนกวีแห่งล้านนา ยุคนี้)
ได้สร้างหอศิลปมรดกกวีล้านนาไว้ที่บ้านแม่นาป้าก แม่หอพระแม่แตง 
ที่ นั่นบรรยากาศดีมาก
ครูกำธร หรือจินดาพรหมท่านนี้มีจิตใจรักและรักษ์ทางด้านกวีวรรณกรรมมาก
ท่านสร้างหอดังกล่าว เพื่อไว้เป็นที่พำนัก ค้างแรม ศึกษา ค้นคว้างานทางด้าน 
ศิลปมรดกกวีล้านนาไทย พื่งทำการเปิดไปเมื่อบ่เมินมาหนี้ 
ผู้ที่ไปร่วมเป็นประธานเปิดมีหลายท่าน เช่น
-ท่านพระครูอดุลสีลกิต วัดธาตุคำ เชียงใหม่
-ลุงอำนวย กลำพัด นักจัดรายการวิทยุทางด้านคร่าวฮ่ำ
-พระครูนันท์ นันท์ชัยศักดิ์ ครูภูมิปัญญาแห่งชาติฯลฯ

ติดต่อเรา


9/9 หมู่ 6 บ.แม่นาป้าก ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150



ดู หอศิลปะมรดกกวีล้านนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

กำบะเก่า


















หอศิลปมรดกกวีล้านนา

สะล้อ ซอ ซึง




ล่องแม่ปิง
รอบเวียง
กุหลาบเชียงใหม่
น้อยไชยา
เสเลเมา
พระลอเลื่อน
ปุมเหม้น
พม่า
ฤาษีหลงถ้ำ
ปราสาทไหว
ซอเงี้ยว
ปั่นฝ้าย
ซอน่าน
อื่อ
ลับแล

หอศิลปมรดกกวีล้านนา

อยากให้โลกโชคดีมีความรัก



อยากให้โลกโชคดีมีความรัก


ยิ้มทายทักทั่วทิศอย่างคิดฝัน

เพียงมนุษย์หยุดเข่นฆ่ารบรากัน

คงเป็นวันที่โลกเราโชคดี ฯ





“กำธร จินดาหลวง”

(2489-2552)
Kamthǭn Čhindālūang

(1946-2009)



ปลูกพืชเช่นใด.. ได้ผลเช่นนั้น

ปลูกพืชเช่นใด.. ได้ผลเช่นนั้น
on Saturday, July 16, 2005

.ตะวันออกทางทิศตะวันออก
ไม่ กลับกลอกออกทิศตะวันตก
หงส์เป็นหงส์กาเป็นกา หาใช่นก
จึงหยิบยกอ้างเอ่ยเฉลยคำ

ปลูกพืชเช่นใดได้ผลเช่น นั้น
จะมิผันเปลี่ยนไปให้น่าขำ
คนใจดีมีหรือจะใจดำ
คนมีธรรมหรือจะสร้างทางชั่วเดิน

คนทำดีย่อมได้ดีให้ผล
ที่ปวงชนทั่วหน้าพาสรรเสริญ
คนทำชั่วทั่วไปใครเขาเมิน
แม้บังเอิญพบปะจะหลีกตัว

เว้นลิงไว้พอวาปู่ว่าไว้
เว้นหมาให้ พอศอกบอกกันทั่ว
สัตว์หน้าขนคนพาลไซร้แม้ไม่กลัว
อย่าเกลือกกลั้วให้ราคี เปื้อนชีวา

คนมักชั่ว ควรห่างไกลให้แสน โยชน์
คนมักโกรธควรห่างไกลให้มากกว่า
คนพาโลโมโหโลภโกรธา
เขาอาจฆ่าใครใครได้ทุกคน

ผู้ปลูกธรรมประพฤติ ธรรมนำสุขทั่ว
ผู้ปลูกชั่วประสบทุกข์ทุกแห่งหน
ผู้ปลูกพืชประเภทใดมั่นใจตน
ย่อมได้ผลเช่นนั้น..นั่นความจริ

กำธร จินดาหลวง

แผนที่หอศิลปะมรดกกวีล้านนา



ดู หอศิลปะมรดกกวีล้านนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ที่ใดมีรัก-ที่นั่นมีทุกข์

ที่ใดมีรัก-ที่นั่นมีทุกข์

ความผูกพันทางใจเราไกลห่าง

เมื่อเราต่างมุมมองของเหตุผล

เหมือนม่านฟ้ามากั้นในบันดล

จึงต่างคนต่างอยู่...สู้ชีวา

มองใบไม้เงียบเหงากับเราสอง

สายลมล่องพัดผ่านหวั่นผวา

สายน้ำไหลเริ่มนับกับเวลา

จะกี่ฟ้า...กี่ฝน...ก็ทนไป

มุมมองเราแตกต่างกันอย่างนี้

คงไม่มีในกมลเริ่มต้นใหม่

ปล่อยมันหลุดลอยลับกับเยื่อใย

กับฟ้าไกล..(แต่)..น้ำตานอง

ไปเถิดไปตามทางอย่างที่ชอบ

ทางเลือกคือคำตอบกรอบเราสอง

ไถ่ถามหาทำไมไร้ค่าปอง

ไม่จำจองตารางทางใจเลย


สายน้ำร่ำกระซิบวันชีพหมอง

รักลอยล่องแรมร้างอย่างชาเฉย

กาลเวลายาใจให้คุ้นเคย

โอ้..รักเอ๋ยรักนั้น..นั่นคือทุกข์

จินดาพรหม จินดาหลวง

๓๑ มกราคม ๒๕๕๒

อาลัยคุณจินดาพรหม จินดาหลวง










อาลัยคุณจินดาพรหม จินดาหลวง

กวีจังหวัดเชียงใหม่ (สมาชิกสมาคมกวีร่วมสมัย)



จินดาพรหม จินดาหลวง ล่วงลับแล้ว

กวีแก้วศรีเวียงเมืองเชียงใหม่

จากวงศาคณาญาตินิราศไกล

จาเพื่อนในวงการฯ นิรันดร

จากชมรมอนุรักษ์ศิลป์ภาษาฯ

จากขวัญตาเคยพร่ำอู้คำอ้อน

ทิ้งคนที่รักไป...ให้ร้าวรอน

เหลือคำกลอนไว้เหมือนสิ่งเตือนต

หนี กวีร่วมสมัย ไปสวรรค์

รอพบกันหนใหม่ในชาติหน้า

“ที่ใดมีรัก...” รินร่ำคล้ายอำลา

“โอ้รักเอย...” รักพาทุกข์ฤทัย

จินดาพรหม จินดาหลวง ล่วงลับแล้ว

กวีแก้วศรีเวียงเมืองเชียงใหม่

หลับสนิทเถิดหนาอย่าห่วงใด

สถิตในสถานพิมานเทอญ.

สุวัฒน์ ไวจรรยา

บรรณาธิการฯ ร้อยวลีกวีร่วมสมัย.