เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

เปิดสอนค่าว และดนตรีพื้นเมือง


                “ ชมรมอนุรักษ์ ภาษาวัฒนธรรมล้านนาสายใต้ ”
                                    
       นำโดยอาจารย์ รสสุคนธ์ รักษ์กวี หรือ อาจารย์ถนอม ปาจา





เปิดทำการสอนบุคคลทั่วไป เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา
ที่สนใจในการแต่งกลอน  แต่งค่าว และดนตรีพื้นเมือง 
รับสอนฟรีในวันเสาร์และวันอาทิตย์


ที่บ้านรสสุคนธ์
๔๓/๑ หมู่ที่ ๗ บ้านสันห่าว  ตำบลบ้านกลาง
อำเภอสันป่าตอง  จังหวัดเชียงใหม่
โทร. ๐๘๖-๙๑๔๘๕๓๗ 



ดู กวีล้านนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า







                                              คำนำ
      สำหรับหลักสูตรการแต่งค่าวเล่มนี้     ผู้เรียบเรียงมีวัตถุประสงค์เพื่อจะเป็นการสืบสาน  วรรณกรรมค่าว  อันเป็นมรดกและภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา   ซึ่งเป็นกวีของ
คนเมืองเหนือเรา  เป็นภาษาปราชญ์ที่มีคุณค่าทางวฒนธรรมที่เราควรอนุรักษ์ไว้   เพื่อ
อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษา  เรียนรู้  สืบต่อไป
       วรรณกรรมค่าว  เป็นวรรณกรรมที่มีเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม  เป็นของดี
ของคนเมืองล้านนาที่เราควรภาคภูมิใจ   ที่จะนำมาอวดให้กับคนภาคอื่นได้รับรู้ว่าเรามีของดี   อันเป็นภูมิปัญญาของคนเมืองล้านนาเรา   ที่ได้รับการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
         หลักสูตรการแต่งค่าวเล่มนี้    ทางผู้เรียบเรียงได้จัดเป็น๓รูปแบบคือ  ค่าวก้อม
ค่าวกลาง    ค่าวยาว   โดยมีหลักฉันทลักษณ์   การสัมผัสบท   สัมผสคำ   สัมผัสวรรณ
ยุกต์ไว้    โดยมีแบบฝึกหัด    แบบเฉลย   เพื่อจะได้ง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับผู้สนใจ
และเยาวชนจะได้ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น
          ความตั้งใจในการศึกษาค้นคว้าเพื่อหวังสืบสาน  วรรณกรรมค่าว   ทางผู้เรียบ
เรียงรู้ว่าขณะนี้เรากำลังวิ่งทวนกระแสสังคมปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์    เพราะว่าสื่อต่างๆได้นำเสนอวัฒนธรรมของทางตะวันตก   ซึงมีการโฆษณากันอย่างแพร่หลาย
ทำให้เด็กวัยรุ่นของเรามีความหลงใหลคลั่งไคล้ซึมซับจนเกินความพอดี   เห็นวัฒนธรรม
อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเราว่าเป็นของเก่าล้าหลังไป   วรรณกรรมค่าว  นี้หาก
คนเมืองเราไม่เรียน ไม่อ่าน  ไม่เขียน   ไม่ฟัง แล้วคนอื่นที่ไหนเขาจะมาเรียน  มาเขียน  มาอ่าน  มาฟังมาช่วยอนุรักษ์ไว้   หากว่าเป็นแบบนี้และยังไม่มีภาครัฐหรือเอกชนส่วนไหนมาร่วมดูแลแก้ไขสนับสนุน  เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมค่าวหรือวรรณ
กรรมต่างๆของเมืองล้านนาเรานับวันจะต้องเลือนหายไป   ลำพังเพียงกลุ่มหรือชมรมฯ
เล็กๆของเราคงไม่มีพลังที่จะขับแคลื่อน   วรรณกรรมค่าวชิ้นนี้ให้คงอยู่ได้ไม่นานต่อไป
นับเป็นที่น่าเสียดายอย่ายิ่งถ้าหากวรรณกรรมค่าวชิ้นนี้   จะสูญหายไปกับชีวิตและอุดม
การณ์ของพ่อครูรุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้าย   วรรณกรรมค่าว   ก็จะเหลือเพียงชื่อซึ่งถูกบันทึก
ไว้ในในวรรณกรรมว่าเป็นกวีหนึ่งของชาวล้านนา   ที่อยู่ในสมุดหรือหนังสือเก่าๆไร้คุณ
ค่า   ไร้คนสนใจแล้วก็จะถูกลืม....เลือน...หายไปในที่สุด       
           สำหรับผู้เรียบเรียงหลักสูตรการแต่งค่าว     นับเป็นโอกาสดีที่ในปีนี้ได้รับการคัดเลือกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่๗    จากสำนักงานเลขาธิ
การสภาการศึกษาแห่งชาติ   กระทรวงศึกษาธิการ   ประจำปี๒๕๕๔นี้   สาขาภาษาและ
วรรณกรรม  (ด้านวรรณกรรมท้องถิ่นค่าว)  จึงมีความรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้รับเกียรตินี้
จึงมีความตั้งใจที่จะสืบสาน วรรณกรรมค่าวไว้ให้กับเยาวชนลูกหลานเราสืบต่อไป
                             
                                                ด้วยความจริงใจ
                                         รสสุคนธ์         รักษ์กวี
                                    (       นายถนอม       ปาจา       )

                                           ๑๒   สิงหาคม   ๒๕๕๔


บันทึกผลงาน

๒๙  พ.ศ.๒๕๕๓   ได้รับรางวัลชนะเลิศ  สาขาภาษาและวรรณกรรม  ระดับ๖อำเภอสายใต้ ที่อำเภอ
                                จอมทอง    จังหวัดเชียงใหม่
๓๐. พ.ศ.๒๕๕๓   ได้รับรางวัลชนะเลิศ  สาขาภาษาและวรรณกรรม   ระดับจังหวัด  ที่อนุสาวรีย์
                                สามกษัตริย์  อำเภอเมือง   จังหวัดเชียงใหม่
๓๑. พ.ศ.๒๕๕๔  ได้รับรางวัลศิลปินพื้นบ้านผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม  สาขาภาษาไทยถิ่นดี
                               เด่น  ประจำปี๒๕๕๔  จากสำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่  และสภาวัฒน-
                               ธรรมจังหวัดเชียงใหม่
๓๒.พ.ศ.๒๕๕๔   ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น  ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่  ๗  สาขาภาษาและ-
                               วรรณกรรม (วรรณกรรมท้องถิ่นค่าว )  จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                                กระทรวงศึกษาธิการ  ประจำปี๒๕๕๔
๓๓. พ.ศ.๒๕๕๔  ได้รับรางวัลเกียรติยศ  ประเภทค่าว  งานมหิดลกรองแก้วแวววรรณครั้งที่๔ประ
                               จำปี๒๕๕๔   จากคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๓๔.พ.ศ.๒๕๕๔   ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม  ระดับจังหวัดสาขาศิลปะ
                               ประจำปี๒๕๕๔   จากกระทรวงวัฒนธรรม
     
พ.ศ.๒๕๕๓      ได้เป็นตัวแทนอาสาสมัครก.ศ.น.จังหวัดเชียงใหม่   ไปร่วมจัดนิทรรศการกับคณะ-
                           อาจารย์  กศน.สันป่าตอง ด้านกวีล้านนา(ค่าว)  ที่สำนักงาน  กศน.จังหวัดพระนคร
                           ศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๕๕๓      ได้เป็นตัวแทนระดับจังหวัดเชียงใหม่  สาขาภาษาและวรรณกรรม(ค่าว) ไปร่วมใน
                          งาน  มหศจรรย์ถิ่นล้านนา  ๒๐๑๐ครั้งที่๑ของ๔จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่ห้าง
                           โรบินสัน   จังหวัดราชบุรี
พ.ศ.๒๕๕๔     ได้รับเกียรติจากชมรมชาวเหนือ-ภูเก็ต-อันดามัน   เชิญไปในงานขันโตกดินเนอร์-
                          เพื่อทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ  นายตรี  อัครเดชา  ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพร้อมคุณนาย
                         โดยทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นแบบกวีล้านนา(ค่าว)  ที่โรงแรมเมอร์ลินจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๕๔    ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนด้านอัตตลักษณ์ล้านนา  ด้านวรรณกรรมท้องถิ่น(ค่าว)
                         นำร่องของจังหวัดเชียงใหม่   โดยเปิดบ้านเป็นจุดเรียนรู้ด้านวรรณกรรมท้องถิ่น ให้
                         กับเยาวชนและผู้สนใจมาศึกษาเรียนรู้       เพื่อเป็นการสืบสานด้านประเพณี-วัฒน
                         ธรรม     ได้ร่วมประสานกับสำนักงานวํฒนธรรมอำเภอสันป่าตองและองค์การบริ
                         หารตำบลบ้านกลาง   อำเภอสันป่าตอง   จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ.๒๕๕๔    ได้จัดทำหนังสือรวบรวมโบราณสถานเวียงท่ากาน ซึ่งมีอยู่๒๐กว่าแห่ง    ที่ได้เข้าไป
                         ถ่ายรูปไว้ว่าเป็นแต่ละจุด   แล้วก็เขียนคำบรรยายใต้ภาพเป็นบทกวีล้านนา(ค่าว)โดย
                        มีวัตถุประสงค์คือ  ๑.เพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเมืองเก่าท่ากาน  ๒.เพื่อเป็นการเผย
                         แพร่วรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา(ค่าว) ไปด้วย     โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนัก

                        งานวัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง   จังหวัดเชียงใหม่