เฮาบ่ฮัก ไผจะมาฮัก เฮาบ่เฮียน ไผจะมาเฮียน เฮาบ่สืบ ไผจะมาสืบ

ประวัติอาจารย์รสสุคนธ์ รักษ์กวี


อาจารย์รสสุคนธ์  รักษ์กวี หรือ พ่อครูถนอม ปาจา



เกิดวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

ที่อยู่ ๔๓/๑ หมู่ที่ ๗ บ้านสันห่าว  ตำบลบ้านกลาง
อำเภอสันป่าตอง  จังหวัดเชียงใหม่



เป็นบุตรของ  นายแก้ว  กับ  นางนวล
เป็นบุตรคนที่  ๔  จากพี่น้อง  ๔ คน
ภรรยาชื่อ  นางบุญยืน  มีบุตร  ๑ คน  ชื่อ  นางรสสุคนธ์  
การศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนต้น  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสันป่าตอง
เริ่มการศึกษาผลงานโดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ตั้งแต่สมัยเรียนพระปริยัติธรรม
ด้วยอุปนิสัยรักการอ่านและเขียนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก
ฝึกฝนเขียนกลอนส่งไปทางหนังสือพิมพ์
และวิทยุในท้องถิ่นเชียงใหม่เป็นจุดเริ่มแรก

พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้เข้าเป็นสมาชิกชมรมนักกลอนเชียงใหม่ - ลำพูน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕  ก็ได้เริ่มเขียนค่าว  โดยส่งผลงานไปทางวิทยุ
รายการของแม่ครูเรไร  ชัยวงศ์  และพ่อครูอำนวย  กลำพัด
ได้จัดทำหนังสือ ตำนานพื้นบ้าน,  เจี้ยตลก,  กวีนิพนธ์ค่าว,
ประวัติหมู่บ้านสันห่าว,  หนังสือกำค่าว กำคม เล่ม ๑ – ๓
กวีนิพนธ์ร่วมกับเพื่อนๆ เรื่องพระเจ้าสิบชาติ,
ได้ร่วมออกรายการโทรทัศน์กับชมรมนักกลอนเชียงใหม่ - ลำพูน  ที่ทีวี ช่อง ๘ ลำปาง,

จัดรายการวิทยุชุมชนสันป่าตอง
วิทยุชุมชนสหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง
วิทยุชุมชนวัดศรีปันเงินทั้งยังเข้าร่วมประกวดกลอน - ค่าว
ตามสถานที่ราชการและเอกชน
ได้รับรางวัลเกียรติบัตรที่สำคัญกว่า  ๒๐ รางวัล
เช่น  รางวัลชนะเลิศ ค่าวเฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์  ๖๐ พรรษา
ของ มูลนิธิดอยสุเทพ ,  รางวัลชนะเลิศค่าวหมอเจ้าฟ้า ในงานวันมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
รองชนะเลิศค่าวเศรษฐกิจพอเพียง ห้องสมุดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จ.ลำพูน,
รางวัลรองชนะเลิศบทประพันธ์ค่าวของชมรมฟื้นฟูกวีล้านนาภาคเหนือ  เป็นต้น
นอกจากนี้ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม

               ปี พ.ศ. ๒๕๔๖  ได้ร่วมก่อตั้ง  “ ชมรมอนุรักษ์ ภาษาวัฒนธรรมล้านนาสายใต้ ”
เปิดทำการสอนเด็กนักเรียนที่สนใจในการแต่งกลอน  แต่งค่าวและดนตรีพื้นเมือง
รับสอนฟรีในวันเสาร์และวันอาทิตย์  โดยเป็นพ่อครูอาสา

ความภาคภูมิใจ  คือในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๒  มีครูและเด็กนักเรียนของชมรมฯ
ได้รับรางวัลเกียรติยศ จำนวนกว่า  ๑๐๐  ใบ  นับเป็นความสำเร็จที่ให้คุณค่าทางจิตใจ
ด้วยอุดมการณ์ความเสียสละความหวงแหนในวรรณกรรม
ตามต้องการสืบสานไว้ให้ลูกหลานเมืองเหนือถิ่นล้านนาท่ามกลางสังคมสื่อในยุคปัจจุบัน

ที่มา :  http://www.sanpatong.or.th/newsdetail.php?id_news=50